Sunday, May 13, 2012

ทฤษฏี Elliott Wave



ทฤษฏี Elliott Wave  สร้างขึ้นโดย Ralph Nelson Elliott ซึ่งเขาได้พัฒนามาทฤษฎีนี้มาจาก Down Theory
โดยเนื้อหาบทสรุปของทฤษฎีนี้คือ Pattern ของราคาหุ้นมันจะมีพฤติกรรมเป็นลักษณะลูกคลื่น ซึ่งสามารถแจง
รายละเอียดในหลักการได้ดังนี้
ถ้ามีแรงกระทำย่อมมีแรงโต้ตอบ ซึ่งอนุมานในการเล่นหุ้นคือ เมื่อหุ้นมีขึ้น
มันก็ต้องมีลง และเมื่อมันลงถึงจุดนิ่งแล้ว มันก็พร้อมที่จะขึ้นในรอบต่อไป
ซึ่งภาษานักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายเขาเรียกว่าหุ้นรีบาวน์ ( rebound ) 
และหุ้นปรับฐาน ( retrace )
Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก ( 1-2-3-4-5)  และลูกคลื่น
ในขาลง 3 ลูก (a-b-c) ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction
ในหนึ่งรอบหรือ cycles ของ Elliott Wave นั้นจะเป็น series ของ impulse และ correction
จากกราฟจะเห็นว่าจุดสูงสุดของรอบจะอยู่ที่คลื่นลูกที่ 5 ส่วนจุดเริ่มต้นคือคลื่นลูกที่ 1 ในช่วงที่หุ้นเป็นขาขึ้น การขึ้นยังไม่แรงเท่าที่ควร เพราะนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นต่างคอยดูเชิงซึ่งกันและกัน ราคาหุ้นก็จะไต่ขึ้นมาที่คลื่นลูกที่ 1 หลังจากนั้น ก็จะมีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มที่คอยจังหวะขายหุ้โดยที่หวังกำไรไม่มากนัก หรือ อย่างน้อยก็ขาดทุนไม่มาก ทำให้หุ้นปรับฐาน( retrace ) ลงมาเล็กน้อยที่คลื่นลูกที่ 2
ากราคาหุ้นได้ปรับฐานมาที่คลื่นลูกที่ 2 แล้ว ในช่วงนี้เอง volume การซื้อขายเริ่มมากขึ้น ทำให้นักเล่นหุ้นอื่นๆมองเห็นแนวโน้มทิศทางของหุ้นตัวนี้ จึงเริ่มเข้าซื้อหุ้นด้วย volume ที่มาก ทำให้ราคาหุ้นปรับตัว ( rebound ) สูงขึ้นมาก โดยทฤษฏีแล้ว คลื่นลูกที่ 3 จะเป็นคลื่นลูกที่สูงที่สุด
ราคาหุ้นปรับตัวมาที่คลื่นลูกที่ 3 ทำให้นักเล่นหุ้นมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ จึงเริ่มทะยอยขายหุ้นออกมา ราคาหุ้นก็เริ่ม retrace มาที่คลื่นลูกที่ 4 การปรับฐานของราคาหุ้นมาที่คลื่นลูกที่ 4 นี้ ดูเหมือนว่ามันน่าจะหยุดขึ้นต่อไป แต่ทั้งนี้ยังมีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มที่ตกขบวนรถไฟ และยังมีความเชื่อว่าหุ้นตัวนี้สามารถวิ่งต่อได้ จึงเข้าไล่ซื้ออีกรอบหนึ่ง  ทำให้หุ้นสามารถวิ่งต่อไปได้จนถึงคลื่นลูกที่ 5 แต่โดยพฤติกรรมแล้ว คลื่นลูกที่ 5 จะมีขนาดสั้นกว่าลูกที่ 3 เนื่องจากความกล้าๆกลัวๆของนักเล่นหุ้นทำให้ตัดขาย หรือทำกำไรเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว
.เมื่อราคาหุ้นปรับตัวมาที่จุดสูงสุดคือคลื่นลูกที่ 5 แล้ว และมีการขายทำกำไรกันออกมา ทำให้ราคาหุ้นปรับฐานลงมาที่คลื่น a, การขายรอบนี้นักเล่นหุ้นจะประสานเสียงหรือร่วมมือร่วมใจกันขายหุ้นออกมาปริมาณมาก หรือบางครั้งเกิด panic เล็กๆ เมื่อหุ้นปรับฐานมาที่คลื่น a นักเล่นหุ้นบางคนจะมองว่าราคาหุ้นมันถูกลงจึงเข้าซื้อทำให้ราคาหุ้น rebound เล็กน้อยไปที่คลื่นลูกที่ b แต่การขึ้นครั้งนี้มันขึ้นไม่แรง เพราะมันยังไม่สามารถเอาชนะใจคนอื่นๆได้ พอขึ้นไม่แรงก็ขายดีกว่า ทำให้มีการขายหุ้นกันออกมาทำให้ราคาหุ้นปรับฐานลงที่คลื่น c
หลังจากจบคลื่น c แล้วก็ถือว่ามันครบรอบหรือ cycle ของหุ้นอย่างสมบูรณ์ ผมขอทวนนะครับ คลื่น Elliott Wave ประกอบด้วยหุ้นขาขึ้น ( impulse) คลื่นลูกที่ 1,2,3,4,5 ส่วนหุ้นขาลง ( correction ) มีคลื่นลูก a,b,c
การเข้าใจพฤติกรรมของหุ้นโดยอาศัยหลัก Elliott Wave จะทำให้เรารู้สถานะและแนวโน้มของมัน ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นในการ trade
จากที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียง Basic Concept เท่านั้น แต่มันยังมีความซับซ้อนมากกว่านี้ โดยที่หุ้นขาขึ้นลูกที่ 1,2,3,4,5 สามารถรวบเป็นคลื่นลูกที่ 1 และหุ้นขาลง a,b,c สามารถรวบเป็นคลื่นลูกที่ 2 ได้ เช่นกราฟด้านล่าง


การที่หุ้นมัน rebound หรือ retrace นั้น ถามว่ามันจะขึ้นไปถึงไหน และ มันจะลงมาถึงไหน ตรงจุดนี้ก็มีทฤษฎีที่อธิบายได้เช่นกันนั่นคือ Fibonacci Numbers ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สามารถเขียนเป็นหนังสือหรือคู่มือเป็นเล่มหนาประมาณ 1 นิ้วได้ ซึ่งผมไม่สามารถนำมาอธิบายในที่นี้ได้ แต่ก็ขอนำเอาผลของมันมาใช้เลยดีกว่าครับ
Fibonacci Numbers เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติ เป็นตัวเลขที่เรียกได้ว่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว ตัวเลขที่เราสามารถนำมาใช้ได้เลยมีดังนี้
เราลองมาดูตัวอย่าง Fibonacci Numbers ที่ใช้ใน Meta Stock กันดูบ้าง
จากกราฟราคาหุ้นข้างต้น เป็นตัวอย่างจริงของหุ้น BBL เมื่อราคาหุ้นมันขึ้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 และมันก็ปรับฐาน retrace ลงมา ทีนี้หากเราไม่มีวิชาติดตัวถามว่าราคาหุ้นมันควรจะลงมาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถจะคาดคะเนได้ แต่หากเรามีวิชาติดตัว คุณคงบอกได้นะครับว่าแนวรับมันควรจะอยู่ที่ไหน
ถ้าเราใช้ Meta Stock เราก็จะได้แนวรับหลายระดับได้แก่ แนวรับที่ 23.6% ,  38.2%,  50.0%,  61.80% ในที่นี้แนวรับมันหยุดที่ 50% ที่ราคาใกล้ๆ 48 และหลังจากนั้นมันก็ rebound ขึ้นต่อไป โดยที่ตัวเลขแนวรับที่เกิดขึ้น Meta Stock จัดการให้ทั้งหมด
แน่นอนครับเราคงไม่ได้ใช้เจ้า Fibonacci Numbers เพียงอย่างเดียวมาวิเคราะห์หุ้น ถ้าจะให้ดีเราควรนำเอา indicators ตัวอื่นๆมาวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน ซึ่ง indicators พวกนี้ศึกษาได้จากหนังสือที่เกี่ยวกับ technicalanalysis ได้หลายเล่มในท้องตลาด
ตัวอย่างข้างล่างเป็นการนำเอา indicator เช่น MACD ( Oscillator ) มาประกอบในการวิเคราะห์ เพื่อหาว่าคลื่นของ ELLIOTT มันวิ่งไปถึงคลื่นลูกที่ 5 หรือยัง ซึ่งจะสังเกตุเห็นว่าเส้นสีแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุด 3 และ 5 มีทิศทางขึ้น ในขณะที่เส้นแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุดยอดของ MACD มีทิศทางลง ลักษณะนี้เรียกว่าเกิด divergence คือมันมีทิศทางสวนทางกัน เช่นนี้ก็จะสามารถ forecast ได้ว่ากราฟหุ้นได้มาถึงจุดสูงสุดคลื่นลูกที่ 5 แล้ว


การนำ Elliott Wave มาวิเคราะห์หุ้นนั้นนับว่ามันมีประโยชน์มากทีเดียว แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า คนสิบคนกำหนดหรือสร้าง Elliott Wave ไม่เหมือนกันคือ บางคนระบุราคาหุ้นตอนนั้นเป็นคลื่นลูกที่ 3 แต่บางคนก็ระบุเป็นคลื่นลูกที่ 5 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และเครื่องมือที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ ถึงแม้ว่ากราฟมันจะเป็นคลื่นลูกที่ 3 หรือ 5 ก็ตาม พฤติกรรมตอนนั้นก็คือ กราฟวิ่งขึ้นไปสู่ยอดกราฟเหมือนกัน
สิ่งสำคัญที่ขอเน้นนะครับคือ ไม่ว่าเราจะมีเครื่องมือที่ดีเลิศอะไรก็ตาม แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ DISICIPLINE อย่าลืมนะครับ discipline ต้องยึดมั่นให้ดีแล้วคุณจะประสบความสำเร็จ
บทความจาก  http://www.richerstock.net

No comments:

Post a Comment