การใช้ Indicator เทพ ทั้ง 4 ตัว คือ MACD RSI DMI และ Fast and Slow Stochastics
เนื่องจากพฤติกรรมของราคาหุ้น มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ จึงมีคนนำวิชาสถิติมาประยุกต์ใช้ และจากการนำวิชาสถิติ และคณิตศาสตร์มาคำนวน จึงเกิดเป็นรูปแบบต่างๆ การใช้งานก็แต่ต่างกันออกไปเช่น
และตัวที่ใช้กันมากๆ ก็จะมีอยู่ 4 ตัวนี้ (indicator มีประมาณ 50 กว่าตัว)
1. Macd - Moving average convergence divergence
คำนี้ได้ยินบ่อยๆ เดียวจะมาศึกษากัน จะดูว่า สัญญาณ convergence กับ สัญญาณ divergence มันเป็นอย่างไร
2.RSI - Relative Strength Index
3. Fast and Slow Stochastics
4. DMI - Direction Movement Index
4 ตัวนี้ เป็น indicator ที่นิยมใช้ แต่ 3 ตัวหลัง จะเป็นดัชนี วัดความแกว่ง ซึ่งจะมี ค่าวัดระหว่าง 0-100
ถ้านึกไม่ออกว่ามันคืออะไร ให้นึกถึงการขับรถยนต์ รอบเครื่องยนต์ เช่นเกียร์ 1 เราอาจจะลากรอบเครื่องไปถึง 5 พันรอบ มันก็เริ่มตื้อ จนตรงเปลี่ยนเกียร์ ดังนั้นก็เหมือนกับหุ้น
เมื่อหุ้นขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง ซึ่ง Rsi หรือ DMI ขึ้นมาสูงๆแล้ว มันจะเป็นตัวบอกว่าหุ้น จะต้องมีการพัก
และถ้าเป็นตลาดที่อยู่ในสภาวะกระทิง เราจะใช้ Macd เป็นตัววัดค่า แม้บางที่หุ้น อยู่ในภาวะ overboard มากๆ แต้ราคาก็สามารถไปต่อได้
...............................
1. Macd - Moving average convergence divergence
เป็นดัชนีติดตามแนวโน้มของราคา ผู้คิดขึ้นขึ้นมาคือ Mr.Gerald Apple ในคศ. 1979 เส้น MACD สร้างขึ้นโดยใช้ความแตกต่างของเส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น โดยทั่วไปใช้เส้น 12 วัน กับเส้น 26 วัน สัญญาณซื้อจะปรากฎขึ้นเมื่อ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เร็ว ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ช้า สัญญาณทั้ง 2 แบบที่เกิดขึ้นจะได้รับการยืนยันเมื่อ เส้นทั้ง 2 ตัดผ่านเส้น 0 (zero line)
สัญญาณซื้อที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่อ
1. เกิดอาการขัดแย้งทางบวก Positive Divergence
2. เส้นเคลื่อนที่เร็ว ตัดขึ้นเหนือเส้นเคลื่นที่ช้า
3. เส้นทั้ง 2 วิ่งผ่านเส้น 0 ทั้งคู่ สัญญาณขายก็จะเกิดตรงกันข้าม
เราจะเห็นเส้นสีแดง "ตัดลง" เส้นสีม่วง ตรงนั้นเป็นสัญญาณขาย (ยิ่งตัดกันเหนือเส้น 0 สัญญาณราคาลงจะชัด)
แต่อีกอันเราจะเห็น เส้นสีแดง "ตัดขึ้น" เส้นสีม่วง ตรงนั้นเป็นสัญญาณซื้อ (ยิ่งตัดกันด้านล่างเส้น 0 สัญญาณราคาขึ้น จะชัด)
และถัดมา เราจะเห็น เส้นสีแดง ไปแตะ เส้นสีม่วง นั้นคือมันจะเป็นแนวโน้มเดิม (ประมาณว่า เป็นการพักตัวแล้วก็ขึ้นต่อ)
......................
การใช้งานทั่วไปของดัชนีพวก Oscillator (ตัววัดความแกว่ง) คือ
1. indicator มักจะมีค่าการวัด ตั้งแต่ 0-100 (หรือบางที 30-70 ก็ไม่แปลก แล้วแต่การตั้งค่า)
2. ถ้า indicator เข้าสู่ขอบบน จะเข้าสู่เขตการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ ค่า 70-100
3. ตรงกันข้าม ถ้า indicator เข้าสู่ขอบล่าง มันก็จะเข้าสู่ เขต (Oversold) มากเกินไป หรือที่ค่า 0-30
................................
2.RSI - Relative Strength Index หรือ ดัชนีวัดความแข็งแรงของตลาด
RSI พัฒนาขึ้นโดย J. Welle Wider Jr. โดยมีสูตรคำนวนว่า RSI = 100-[100/(1+RS)] เป็นดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคา โดยทั่วไปของการใช้งานคือ
1. เมื่อ RSI มีค่ามากกว่า 70 ก็จะเข้าเขตการซื้อมากเกินไป หรือ (Overbought)
2. ตรงกันข้าม เมื่อ RSI มีค่าน้อยกว่า 30 ก็จะเข้าเขตการขายมากเกินไป (Oversold)
3. เมื่อเส้น RSI ตัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่"ขึ้น" เป็นสัญญาณซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดในบริเวณ 0-30 หรือ (Oversold)
4. และตรงกันข้าม เมื่อเส้น RSI ตัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่"ลง" เป็นสัญญาณขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดในบริเวณ 70-100 หรือ (Overbought)
งง มะพะยะค่ะ ถ้า งง ก็ดูรูปข้างล่างประกอบ
นี้คือ RSI ดูในกรอบสี่เหลี่ยมข้างบน ในบริเวณ เหนือเส้น 70 เหตุกรณ์ในกรอบ สี่เหลี่ยมบนเรียกว่า Top Failure Swing คือ เส้น RSI เดินทางทะลุเส้น 70 แล้วตัดไปตัดมาที่เส้น 70 ความหมายคือ เป็นสัญญาณขายที่ชัดเจน เราควรจะขายหุ้นออกไป
ส่วนสี่เหลี่ยมด้านล่าง ที่ต่ำกว่าเส้น 30 ก็คือเหตุการณ์ตรงกันข้าม เรียกว่า Bottom Failure Swing คือ เส้น RSI ตัดไปตัดมา ที่ เส้น 30 ความหมายคือ มันเป็นสัญญาณซื้อ (RSI มีความสัมพันธ์กับเวลา จึงเรียกว่า ความแกว่ง)
.......................................
3. Fast and Slow Stochastics
(จะให้สัญญาณที่เร็วกว่า RSI ในตลาดการซื้อขายใครรู้สัญญาณเร็วกว่าคนนั้นได้เปรียบ)
เป็นเครื่องมือที่นิยมกันมาก สำหรับตลาดแกว่งตัวแบบ Sideways Fast Stochastics และ Slow Stochastics ใช้วัดการแกว่งตัวของตลาด โดยมีค่าการแกว่งตั้งแต่ 0-100 และมีเส้นที่เป็นตัววัดอยู่ 2 ตัวคือ %K และ %D โดย %D เป็นสัญญาณหลัก หลักการใช้งานก็เหมือนกับการใช้งานวัดการแกว่งตัวอื่นๆ
1. เมื่อ Stochastics มีค่ามากกว่า 80 จะเข้าเขตการซื้อมากเกินไป (Overbought)
2. เมื่อ Stochastics มีค่าน้อยกว่า 20 จะเข้าเขตการขายมากเกินไป (Oversold)
3. เมื่อ %K ตัด %D ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดขึ้นในบริเวณ (Oversold)
4. ตรงกันข้าม เมื่อ %K ตัด %D ลงไป เป็นสัญญาณขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดขึ้นในบริเวณ (Overbought)
งงอีกแล้วใช่ไหมเสด็จพี่ งั้นดูรูปข้างล่าง
ดูๆแล้ว หลายท่านอาจจะเริ่มงง เอาละ ต้องอธิบายความแกว่งกันก่อน
ความแกว่ง มีเวลาเป็นตัวกำหนด เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนเราขับรถ แบบเกียร์ธรรมดา เราขับรถ เราเข้าเกียวร์ 1 แล้วเราเหยีบคันเร่ง จนรอบเครื่อง สูงมาก และไม่สามารถสูงต่อไปได้อีกแล้ว (แต่ระยะทางที่รถวิ่งได้ ดันได้ไม่มาก) เปรียบเทียบได้กับ ราคาเข้าเขตการซื้อมากเกินไป (Overbought) จนมากไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว
ตรงกันข้าม หากเราถอนคันเร่ง รอบเครื่อง จะต่ำมาก ต่ำจนเครื่องจะดับ และต่ำไปมากว่านั้นไม่ได้อีกแล้ว เขาเรียกว่า เขาเขต (Oversold)
หลักการการแกว่ง ดูๆไปแล้ว ก็คล้ายๆกับ ความเร่ง ในวิชาฟิสิกส์มากเลยนะเนี๊ยะ เช่น จรวดขึ้นดวงจันทร์ ตอนออกตัวจากพื้นโลก ความเร่ง (ความแกว่ง) จะขึ้นสูงมาก (สูงกว่าเส้น 80-100) จนจรวดเร็วได้ที (เพราะไม่สามารถข้ามขีดจำกัดความเร็วของจรวดได้) และเริ่มมีความเร็วคงที ความแกว่งก็จะลดลง พอไปถึงดวงจันทร์ สมมุติจรวดติดเบรก ABS เบรคอย่างแรง ความเร็วจรวดจาก 2 พัน กม./ ชม. เหลือ 1 กม./ชม. ภายใน 2 วินาที ความเร่ง (ความแกว่ง) ด้านลบ จะลดลงอย่างรวดเร็ว เหมือนเส้น Stochastics ลงต่ำกว่า เส้น 20-0 หลักการพอๆจะเป็นแบบนี้แหละ งงไหม
..............................
^
อธิบายรูปข้างบนใหม่ ลืมอธิบาย รูปนี้เป็นดัชนีที่เราเรียกว่า Stochastics หลักการคล้ายๆ MACD มาก เพียงแต่ Stochastics ตัวนี้ใช้วัดค่าความแกว่ง นั้นคือ ถ้า Stochastics อยู่ที่เส้นค่า 50 ถือว่าความแกว่งน้อย แต่ถ้าเกิน 80 หรือต่ำว่า 20 คือความแกว่งมาก
เส้น Stochastics เราจะเห็น 2 เส้นคือ เส้นสีเขียว เราเรียกว่า เส้น %K เส้นนี้ถ้าจะให้เทียบกับเรือ ก็คือ เรือแจวลำเล็กๆ ที่นึกจะเลี้ยวก็เลี้ยว แต่ไม่รู้ว่า ไอ้ที่เลี้ยวๆ คือเลี้ยวจริงหรือป่าว หรือเลี้ยวหลบกอผักตบชวา
ส่วนเส้น สีม่วง หรือ เส้น %D ถ้าจะให้เทียบ ก็เหมือน เรือไททานิค ที่จะเลี้ยวแต่ละทีจะอุ๊ยอ๊าย เลี้ยวยากมาก แต่ถ้าจะเลี้ยวแล้ว ก็คือจะเลี้ยวจริงๆ สัญญาณจะชัดกว่า
เขาจึงเอาทั้งเรือแจว ที่สัญญาณเร็ว แต่ไม่แน่นอน กับเรือไททานิค ที่สัญญาณช้า แต่ชัวร์ มาบวกกัน เกิดเป็น 2 เส้นนี้ เพราะ ในการซื้อขาย เราต้องการทั้ง สัญญาณที่เร็ว และสัญญาณที่ชัวร์ นั่นเอง โอ้ยเหนื่อย แต่ความจริงหลักการนี้ก็เป็นหลักการของ MACD เช่นกัน เดียวหารูปเรือไททานิคมาให้ดูดีกว่า
หัวเรือในตำนาน
.......................
ต่อไปเรามาดูว่า สัญญาณไหนแรงกว่ากัน
เรารู้แล้วว่า เส้น %K (เรือแจว) "ตัดขึ้น" เส้น %D (เรือไททานิค) มันเป็นสัญญาณราคาขึ้น และสัญญาณจะชัดขึ้นอีก ถ้า การตัดนั้น อยู่ใต้เส้น 0-20
แต่รูปนี้ (รูปด้านซ้าย) เราจะมาดู สัญญาณ การตัดหน้า และการตัดหลัง ดูรูปแรก เรียกว่า การตัดด้านหน้า เหมือนเรือแจ๋ว เลี้ยวตามเรือไททานิค รูปแบบนี้ สัญญาณราคาขึ้น มีแน่ แต่จะแรงน้อยกว่า สัญญาณตัดหลัง
ดูในรูปที่ 2 (รูปด้านขวา) สัญญาณตัดหลัง หรือ เรือแจว ซัดโค้งด้วยความเร็วสูง เกือบปาดหน้าเรือไททานิค สัญญาณ แบบนี้จะแรงกว่า เหมือนกับเรือแจว ปาดหน้าบอกกับเรือไททานิคว่า "สัญาณขายหมดแล้วโว้ย" จากนั้น เรือไททานิคก็เลี้ยวหัวขึ้นตาม
...................
รูปนี้ ก็ RSI อีกเช่นกัน เรือแจว กับเรือไททานิคอีกแล้ว หลักการเหมือน MACD มากๆๆๆๆ
รูปทางด้านซ้าย เรียกรูปแบบนี้ว่า KNEE แปลเป็นไทยว่า "หัวเขา" เหมือนเข่าเข่าตรงไหนฟ๊ะ
รูปที่เขาว่าเป็นหัวเขา อธิบายว่า เรือแจว วิ่ง ปาดหน้าเรือไททานิค และเป็นสัญญาณขึ้น พอขึ้นไปซักพัก เรือแจวเลยวิ่งไปเบียดเรือไททานิค แต่เรือไททานิคบอกให้ขึ้นต่อ ก็เลยเป็นสัญญาณขึ้นที่ชัดเจน
ตรงกันข้ามกับรูปด้านขวา ที่เรียกว่า SHOULDER แปล เป็นไทยว่า "หัวไหล่" เหมือนตรงไหนฟ๊ะ ฝรั่งชอบตั้งชื่อแปลกๆ น่าจะเป็นบันไดมากกว่า
หลักการก็คล้ายๆกัน เป็นการยืนยันสัญญาณลงที่แข็งแกร่งนั้นเอง
......................................
ต่อไป ตัวสุดท้าย (ที่จริงมีหลายตัว แต่เขาใช้หลักๆ 4ตัวนี้)
4. DMI - Direction Movement Index
เป็นระบบที่ติดตามความเคลื่อนไหวของราคา ถูกพัฒนาโดย J. Welles Wider (อีกแล้ว คนนี้พัฒนา RSI ด้วย)
ระบบการชี้ทิศทางของความเคลื่อนไหวนี้ จะบรรจุข้อมูลของเส้น 14 วัน +DI และ -DI ไว้ตรงกันข้าม โดยมีกฎว่า
1. เมื่อ +DI ตัดขึ้น -DI เป็น "สัญญาณชื้อ" (คือให้เรารีบซื้อ เพราะราคามันจะขึ้นแล้ว)
2. เมื่อ +DI ตัดลง -DI เป็น "สัญญาณขาย" (คือให้เรารีบขาย เพราะมันกำลังจะลง)
เพื่อความเข้าใจ ดูรูปข้างล่างเอาเอง มันเหมือน ทั้ง 2 เส้น มันวิ่งซิกแซกกัน ชนกันไปชนกันมา
......................................
ต่อไปเรามาดูตัวอย่างของการใช้ DMI จากของจริง
จากรูป เราจะเห็น ว่า มันมีตั้ง 3 เส้น (สีอาจจะไม่ค่อยชัด) แต่สังเกตุดีๆ มันเป็นตามทฎษฎีแป๊ะๆ และเส้นที่เพิ่มมาอีก 1 เส้น คือเส้น ADX (เส้นสีฟ้า)มันเป็นเส้น ที่เขาเรียกว่า เส้น reference หรือ เส้นอ้างอิงก็ว่าได้ เส้นนี้เป็นตัวยืนยันสัญญาณ เสริมขึ้นมาอีกตัว เช่น เส้นสีแดง หรือ +DI ตัดขึ้นเส้นสีเหลือง -DI แถมยังตัดขึ้น เส้น ADX อีกต่างหาก มันเป็นการยืนยันสัญญาณอีกตัว แต่ถ้างง ก็ใช้ +DI กับ -DI แค่ 2 เส้นไปก่อนซักระยะ ใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นความสัมพันธุ์ของเส้น ADX กับ DI+ และ DI- เอง
ความจริงเราต้องเข้าใจก่อนว่า ค่า Indicator พวกนี้ มันมีสูตรการคำนวนของมันอยู่ เป็นเชิงสถิติ และ โปรแกรมคอม มันก็คำนวนออกมาให้เรา เห็นค่าต่างๆ ที่ปรากกฎในจอ แต่โปรแกรมคอม มันจะมีจุดอ่อนที่ว่า มันไม่สามารถคำนวน เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ว่า ราคา จะขึ้นหรือลง หน้าที่การคาดการณ์ราคาขึ้นหรือลงเป็นของมนุษย์ ที่ต้องรู้จักใช้ Indicator พวกนี้ และ หาค่า "ความน่าจะเป็น" (บางคนเรียกขำๆว่า ความน่าจะตาย) เอาเอง
........................
ต่อไปเรามาดู MACD จากของจริงกันบ้าง
MACD ถือได้ว่า เป็น King ของ Indicator และมันไม่มี ทั้ง (Overbought) และ (Oversold)
โดยใช้เส้น 2 เส้น (เส้น MACD พวกนี้สามารถตั้งค่าเองได้ ตั้งค่าหลายๆ ค่า เราก็จะเห็นความสำพันะของมันเอง)
หลักการก็คล้ายๆ Indicator วัดค่า ความแกว่ง ตัวอื่นๆ ที่ เรือแจว จะวิ่งตัดลง กับเรือไททานิค ก็จะเป็นสัญญาณลง ประมาณนั้น
จากรูป เราจะเห็นว่า หากเส้นสีแดง ตัดขึ้น เส้นสีฟ้า ก็จะเป็นสัญญาณขึ้น แต่ตรงกันข้าม หากว่า เส้นสีแดง ตัดลง เส้นสีฟ้า ก็จะเป็นสัญญาณราคาลง
และการใช้ indicator ทั้ง 4 ตัวประกอบการตัดสินใจ เราก็จะได้สัญญาณที่ชัด ขึ้นไปอีก มันก็เหมือนเกมส์ออนไลน์ แรกๆ เราก็ไม่เข้าใจ แต่พอเรา ลองเล่น ลองผิดลองถูก พอมากๆเข้า เราก็จะดูอย่างชำนาญมากขึ้น เรียกว่า เกิดทักษะ
...........................
ต่อไปคือเส้น RSI
เส้น RSI ค่อนข้างใช้งานง่าย เพราะมันมีเส้นเดียว (ก็แหง่สิ ) และเส้น RSI ก็สามารถตั้งค่าได้เช่นกัน แต่ที่เขานิยมใช้คือ เส้น "14"
ค่า RSI ตัวนี้ เป็นดัชนี วัดค่าความแกว่ง มีค่าจาก 0-100 ถ้า เส้นขึ้นเกิน 70 มันก็จะเข้าเขตการซื้อมากเกินไป และถ้าเส้นต่ำกว่า 30 ก็จะเข้าเขตการขายมาเกินไป
.......................
ดูรูปข้างบน เราจะเห็น เส้น RSI ตัดไป ตัดมา ที่เส้น 70 นั้น เป็นสัญญาณลงที่แรง เรียกว่า Top Failure Swing
ถ้า RSI ยังไม่เข่าสู่ (Overbought) หรือ (Oversold) ก็สามารถมีการขึ้นๆลงๆของราคาได้
................................
ต่อไป
3. Fast and Slow Stochastics
indicater มีอยู่ประมาณ 50 ตัว แต่ 4ตัวนี้ เป็นสัญญาณที่ค่อนข้างแน่นอนกว่าอันอื่น ถ้าเราใช้สิ่งที่เขาใช้กัน ก็จะได้ความเชื่อที่เหมือนๆกันด้วย ดูรูปตัวอย่างจากของจริง
ลงสังเกตุดู ว่าเส้น %K ตัดด้านหน้าหรือด้านหลัง
..............................................
ต่อไปเป็นการวิเคราะห์ขั้นยากขึ้นมาอีก เมื่อเราใช้ร่วมกับ indicator ตัวอื่นๆ
ใช้ไปเลยทั้ง 4 ตัว ตัวอย่างแรก ตามรูป
- จะเห็นว่า RSI ทะลุไป 80 แล้ว
- ส่วน MACD ชนขอบบน และมีการตัดลงมาของสัญญาณ (รูปอาจจะเล็ก แต่เส้นระยะสั้นมันตัดลงเส้นระยะยาวจริงๆ)
- Stochastics ขึ้นไปเกือบ 100 แล้ว เขาเขตขาบมาเกินไปแล้ว
- ส่วน DMI ก็เช่นกัน ตัดขึ้น กับ DI- และกำลังจะชนขอบบน
เห็นแบบนี้แล้ว ไม่ควรจะอยู่แล้ว ขายดีกว่า แม้ว่า โอกาสของราคาจะขึ้นต่อ อีกนิดก็ตาม มาถือเงินสดเก็บไว้ดีกว่า มันเป็นการยืนยันจาก indicator ทุกตัว
...............................
มาดูตัวอย่างอันต่อไป
- จากรูป ดูที่ ค่า RSI จะเห็นว่า อยู่ที่ 25 ซึ่งต่ำ 30 จะเข้าเขตการขายมากเกินไปแล้ว (Oversold) มีโอกาสที่จะขยับตัวขึ้น
- ดูที่ MACD แม้ว่า ตรงเส้น ที่มีลูกศรสีแดง เส้นระยะสั้น จะยังไม่ตัดขึ้น เส้นระยะยาว แต่ทั้ง 2 เส้น ก็ต่ำมากแล้ว และมีแนวโน้มที่เส้นระยะสั้นจะตัดขึ้นเส้นระยะยาว เพราะเส้นระยะ สั้นอยู่ข้างล่าง (ก็แหง่สิ) ซึ่งจากนั้น ไม่นาน เส้นระยะสั้นก็ตัดขึ้นจริงๆ แบบเนียบๆ
- ต่อไปดู DMI ดูว่า เส้น +DI ตัดขึ้นเส้น -DI และเส้น +DI ก็วิ่งขึ้นไป ชนกับเพดาน ถึงแม้ว่าจะไม่ชนเพดานจริงๆ ก็เกือบๆจะชน เพราะ DMI มันเป็นการวัดความแกว่งด้วยเช่นกัน
- ต่อไป Stochastics ดูดิ ว่า ค่าของทั้ง %K %D ต่ำมากๆ เข้าเขตขายมากเกินไปแล้ว แถมดูดีๆ %K ตัดขึ้น %D จริงๆ แถมตัดในเขต Oversold อีก indicator ทั้ง 4 ตัวยืนยันแบบนี้ เราก็ควรจะเข้าซื้อนะ แม้ว่าตอนเราเข้าซื้อแล้ว ราคามันก็อาจจะลงไปอีกนิดหน่อย แต่โดยรวมแล้ว มันน่าจะขึ้น
ถ้าเราได้รับการยืนยันจาก indicator ชัก 3 เราก็น่าจะมั่นใจได้แล้ว และทางการตัดสินใจตาม indicator ไม่ตัดสินใจตามความเชื่อและอารมณ์ของเรา อย่างน้อย แม้ไม่ได้กำไรมากมาย แต่ก็ไม่น่าจะเสียหายจากการลงทุน
...................ต่อไป เรามาดู จุดระวังสัญญาณ กับจุดยืนยันสัญญาณ
ตอนเด็กๆเชื่อว่าเราทุกคนคงเคยวิ่งแข่งใช่ไหมครับ ที่จะมรกรรมการมาบอกว่า
เข้าที่.....ระวัง!! ......ไป๊!!
การดูจังหวะก็เช่นกัน เดียวยกตัวอย่างให้ดู จากรูปข้างบน
ดูจากรูป
1. เข้าที่ (ในเส้นสีขาว) จากรูปเราจะเห็นว่า RSI เริ่มเข้าเขตขายมาเกินไป แต่ยังไม่ชัวร์ ส่วน Stochastics เข้าเขตขายมากเกินไปแล้ว แต่ DMI กับ MACD ยังไม่ชัด ในช่วงนี้ ให้เราดูแบบจับตาไปก่อน
2. ระวัง!! (เส้นตรงกลาง) ตรงจุดนี้ มี Indicator ยื่นยันชัดมาแล้ว อย่างน้อย 3 ตัว คือ RSI DMI และ Stochastics แต่ MACD ยังไม่แน่ (แต่ถ้าเป็นนักลงทุนที่เก่งๆ เขาจะเข้าซื้อตรงนี้เลย)
3. ไป๊!! เราจะเห็นสัญญาณตัวสุดท้ายแล้วคือ MACD ชัดแล้ว ก็เข้าซื้อเลย
This comment has been removed by the author.
ReplyDelete