หุ้นแนะนำ, วิธีเลือกหุ้นเด่น, เล่นหุ้นอย่างไรให้ได้กำไร
จั่วหัวด้วยคำสอนของเซียนหุ้นพันล้าน "คุณวิชัย วชิรพงศ์ "หรือที่รู้จักกันในวงการว่า "เสี่ยยักษ์” ผมต้องบอกว่าคำพูดนี้ถือเป็นสูตรสำเร็จก็ไม่ผิดนัก แต่จะมีกี่คนที่ทำได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ
ตั้งแต่ผมเริ่มเล่นหุ้นมาจนถึงเดี๋ยวนี้ ผมถือว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่เคย “ขายขาดทุน” และที่ไม่ขาดทุนไม่ใช่ว่าผมติดดอยและดื้อถือมาขายตอนได้กำไร แต่ผมมีหลักในการเข้าเทรดโดยดูรอบขึ้นลงของหุ้นเป็นสำคัญ ....จะว่าไปก็ยังมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมยอมขายขาดทุน สาเหตุไม่ใช่เพราะผมซื้อพลาด แต่ที่ผมยอมขายเพราะผมเห็นหุ้นตัวนึงกำลังเด้งแนวรับขึ้นซึ่งเปรียบเทียบกำไรแล้ว ผมสู้ขายขาดทุนและเอาเงินต้นมาลงหุ้นตัวใหม่นี้ดูจะมีกำไรมากกว่า “ซึ่งผมตัดสินใจถูก” ส่วนที่ตัดขาดทุนไปนั้น ผมได้คืนกลับมาภายในเช้าวันรุ่งขึ้น (^^) ...ประเด็นที่เล่าไม่ใช่อยู่ตรงกำไรของผม แต่อยู่ตรงหุ้นตัวที่ซื้อนั้นเป็นหุ้นที่มี fundamental ดีมาก แถมอยู่ช่วงขาขึ้น แต่ที่กำไรไม่วิ่งนั้นเป็นเพราะ Volume ไม่มี
ขั้นตอนในการเลือกหุ้นทางด้านพื้นฐาน และเทคนิคการดูกราฟเบื้องต้นนั้น..ผมขออนุญาตข้ามไปนะครับเพราะมีเขียนอยู่ในบทความ “อยากเล่นหุ้นฯ”แล้ว ดังนั้นผมขอผ่านมาขั้นตอนหลังจากเลือกหุ้นได้แล้วนะครับ
เวลาที่ผมเลือกหุ้นนั้น Mind Map ผมจะเป็นตามนี้ครับ
1. ผมเลือกจากความชอบส่วนตัว เพราะชื่อที่ติดอยู่ในหัวนั้น อย่างน้อยๆผมถือว่ามันต้องมีจุดเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น นึกถึงน้ำมันก็ PTT, IRPC นึกถึงบันเทิงก็ Grammy, RS นึกถึงสื่อสารก็ AIS, DTACประมาณนี้ครับ
2. ผมก็จะเปิดดูงบการเงิน (ตามอ่านได้ในบทความ “อยากเล่นหุ้นฯ”) ของแต่ละบริษัทฯ ว่าภาพที่ผมรู้จักกับความเป็นจริงนั้นแตกต่างกันอย่างไร
3. เปิดกราฟดู Trend ณ ตอนนั้น (ถ้าใครไม่มีprogram หลักๆ..ก็ดู Link ตามบทความเช่นเดียวกันครับ)
4. หลังจากเช็คตัว indicator ต่างๆ และเห็นแล้วว่าเป็น Uptrend ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นน่าสนใจ ผมก็จะตีtrendline เพื่อกำหนดกรอบ”แนวรับ” และ “แนวต้าน” ถ้าเห็นว่าอยู่ในรอบที่ทำกำไรได้ผมก็เข้าซื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าช่วงย่อตัวลงมาเด้งแนวรับเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้าน พอถึงบริเวณแนวทดสอบผมก็ค่อยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ณ เวลานั้นๆอีกที (กราฟตัวอย่างที่ผมยกมา...ผมเข้าซื้อช่วงเส้นแนวตั้งสีเหลือง เพราะย่อลงมาสุดแล้ว และราคากำลังกลับขึ้นไปยืนบน EMA 5 เส้นเขียว)
5. ขั้นตอนต่อไปก็อยู่ตรง Mainหลักของบทความนี้ คือ “เรื่อง Volume” ครับ หุ้นที่ผมซื้อแล้วต้องยอมขายขาดทุนไปนั้นผ่านเกณฑ์ตามที่ผมแจ้งทั้ง 4 ข้อมาหมด แต่กลับไม่มีคนเล่น...ผมถึงบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
จากนั้นผมลองมาไล่เช็คหุ้นใน Port ตัวเองดู ปรากฎว่าหุ้นทุกตัวที่ทำกำไรให้ผมเป็นกอบเป็นกำนั้น ส่วนใหญ่ติดอันดับต้นๆของ หุ้นที่มีปริมาณซื้อขายสูงสุดของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ....นั่นแสดงว่า “คำพูดข้างต้นนั้น เป็นความจริง”
6. วิธีการเช็คดูว่าหุ้นมีVolumeเป็นอันดับที่เท่าไหร่ของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็ให้ไปที่ Linkนี้ครับ
แล้วไปใส่ชื่อหุ้นตรง ช่อง”ค้นหาข้อมูลหลักทรัพย์” (มุมขวาบน) แล้วกด”go” จากนั้นไปที่ “อันดับในอุตสาหกรรม” (มุมบนซ้าย)
7. จากนั้นก็ไปเลือกตรงช่อง “จัดลำดับตาม” ซึ่งเมื่อClick เข้าไปจะมีให้เลือก “ %เปลี่ยนแปลง, ปริมาณ, มูลค่า,ฯลฯ” ในที่นี้เราเลือก “ปริมาณ” แล้วไป click เลือกตรง”มากไปน้อย” แล้วกด “GO”
ขั้นตอนนี้เราจะสามรถรู้ว่าหุ้นตัวที่เราเลือกนั้นอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ (โดยการจัดเรียงเราสามารถกำหนดได้เองว่าจะให้จัดเรียงตามอะไร) .....คราวนี้เพื่อนๆก็จะสามารถเลือกหุ้นที่มี Volume ได้ตามที่ต้องการแล้ว
หลักสำคัญอีกอย่างหนึ่ง อย่าลืม check ด้วยว่าปริมาณที่ว่านั้น เป็นปริมาณ “ขาย”หรือ”ซื้อ” ...อย่างที่บอกตั้งแต่ตอนต้นว่า “ปริมาณและราคา จะต้องไปในทิศทางเดียวกัน” สังเกตุโดยแบ่งได้เป็นหลายกรณี ดังนี้
- ราคาขึ้น ...Volume ซื้อขึ้น => หมายถึง ราคายังมีช่องว่างในการเก็งกำไร คนเลยยังซื้อเพิ่มเพื่อรอขายออก
- ราคาลง ... Volume ซื้อลง => หมายถึง ราคาเริ่มลง คนเริ่มรู้ว่าตลาดไม่ต้องการ เลยเลิกซื้อและเริ่มขายออก
- ราคาลง... Volumeซื้อขึ้น => หมายถึง มีคนเก็บของ สงสัยไว้เลยว่าเป็นรายใหญ่ทุบราคาลงมาเพื่อเก็บของ
- ราคาลง.. ไม่มีVolumeขาย => หมายถึง มีคนเก็บของไว้ไม่ยอมขายออก...เราก็อย่าปล่อย
- ราคาลง.... Volumeขายขึ้น => หมายถึง ถ้าเราเข้าไปซื้อก็แสดงว่า เรากำลังเข้าไปรับหุ้นที่คนเขาเริ่มไม่ต้องการ.....
และถ้าขืนเผลอไปซื้อเข้าจริง
“ ถึงเวลานั้นถ้าเพื่อนตะโกนเรียกว่า “เม่า” ก็อย่าลืมหันไปขานรับซะล่ะ ei ei”
No comments:
Post a Comment