สรุปอบรม 6/10/55 แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรสมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
ผลตอบแทนทบต้นทำได้ 15% ต่อปีก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว อย่าไปตั้งเป้ารวยเร็ว ตั้งเป้าเกินตัว บัฟเฟตต์ได้ปีละ 20 กว่า% แต่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก บางคนตั้งเป้ารวยเร็วเช่น ปีละ 100% แบบนี้อันตราย
การซื้อขายหุ้น 2 แบบ
1.Value Investor ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ รวยตามธุรกิจที่เติบโต พบคนล้มเหลวน้อยกว่า
2. Stock Trader ใช้ข้อมูลพื้นฐานมาเก็งกำไร พบคนล้มเหลวที่ลงทุนด้วยวิธีนี้มากกว่า
ดร.นิเวศน์ ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ เช่น มาม่า คนกินเป็น 10 ปี เปลี่ยนแปลงยาก สามารถปรับราคาได้
เสริมสุข ตอนนั้น market cap 2000 ล้าน เงินสด 500 ล้าน ยอดขาย 15000 ล้าน กำไร 500 ล้าน คิดว่า 3 ปีก็คืนทุน ราคาถูกมากๆ
Intrinsic Value มูลค่าที่จริง ดร.นิเวศน์ให้นิยามว่า “มูลค่าที่เราห้ามขาย”
ปัจจุบัน สไตล์เล่นหุ้นของคนส่วนใหญ่ จะเน้นการ ขุดหุ้น คล้ายๆ ไปหาหอยที่ดอนหอยหลอด คือ พอกำไรก็ขาย ไปขุดหุ้นตัวใหม่ จนปัจจุบันหาหุ้นที่จะขุดยากขึ้น เหมือนดอนหอยหลอด ก็ไม่ค่อยจะมีหอยแล้ว
เกรแฮม เลือกหุ้นคุณภาพไม่ต้องดีมาก ขอให้ราคาถูกมากๆ บัฟเฟตต์เลือกหุ้นคุณภาพดีมาก ยอมจ่ายในราคายุติธรรม
ลักษณะของกิจการที่มีคุณภาพ
1.กำไรสม่ำเสมอ เพิ่มขึ้นช้าๆ มานาน (เพิ่มเร็วต้องระวัง)
2.หนี้น้อย
3.Net profit margin สูง ROE สูง
4. ผู้บริหารโปร่งใส ไม่โกง ไม่เอาเปรียบ
5.ผู้บริหารไม่ขยายงานมั่วไปหมด
6.มองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นหลัก
ยุคปัจจุบัน brand ลดความสำคัญลงมาก สิ่งที่สำคัญมากขึ้นคือ เรื่อง ความสะดวกสบาย ยกเว้น brand แฟชั่น เช่น หลุยส์ วิตอง ยังคงมีสำคัญ
คุณภาพของธุรกิจแต่ละประเภท
1. ธุรกิจที่มี brand แข็งแกร่ง ขึ้นราคาได้ ไม่มีสินค้าทดแทน เป็นผู้นำตลาด
2. ธุรกิจสัมปทาน ที่ดีควรจะจ่ายสัมปทานน้อย มีคู่แข่งน้อย ไม่ถูกควบคุมราคา มีกำไรดี
3. สถาบันการเงิน แบงค์ดี เงินทุนไม่ดี หลักทรัพย์ไม่ดี
4. สื่อสาร มือถือดี โทรศัพท์พื้นฐานไม่ดี ทีวีดี
5. สาธารณูปโภค ไฟฟ้าดี น้ำดี ทางด่วนไม่ดี (ลงทุนเยอะ ปริมาณรถเริ่มอิ่มตัว)
6. ธุรกิจมีจุดเด่น มีเทคโนโลยีเหนือคู่แข่ง มีความสามารถในการผลิตสูง
7. ธุรกิจโภคภัณฑ์ เป็นบริษัทส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ผลการดำเนินงานไม่สม่ำเสมอ ไม่เด่น ลูกค้าไม่ยิดติดยี่ห้อ ไม่มีความแตกต่าง ราคาเป็นไปตามตลาดโลก
ข้อสังเกต คนที่รวยมากๆ ส่วนใหญ่จะเป็น เจ้าของธุรกิจที่ดีมากๆ และคงอยู่มานาน
ดร.นิเวศน์ เวลาประเมินมูลค่ากิจการ ท่านจะดู maket cap เป็นหลัก ว่าสมศักดิ์ศรีหรือไม่
การใช้ PE ใช้กับกิจการที่ทำกำไรเติบโตต่อเนื่อง ไม่เหมาะกับหุ้นวัฎจักรที่บางครั้งกำไรลดลง
ธุรกิจที่เติบโตด้วยการลงทุนหนักๆ ไม่ดี ธุรกิจที่ดีควรขยายโดยการลงทุนน้อยๆ
การลงทุนระยะยาว
1. ต้องอาศัย การรู้กว้าง + รู้จริง มองในภาพใหญ่ คิดแบบเจ้าของธุรกิจ ขยายได้อีกมากแค่ไหน เช่น ธุรกิจขนาดช้าง แต่ตอนนี้น้ำหนักแค่ 40 kg ก็น่าลงทุน แต่ถ้าธุรกิจเป็นแมว แต่ตอนนี้น้ำหนัก 40 kg ไม่น่าลงทุน
2. มี sense มองแนวโน้มธุรกิจ เช่นประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้พลังงานมาก ประเทศพัฒนาแล้วเน้นความสะดวกสบาย บันเทิง ธุรกิจโรงงาน พวก OEM ลำบาก เพราะแข่งขันทั่วโลก
บางครั้งการซื้อหุ้น โดยฟังจากคนรอบข้างก็มีประโยชน์ เช่น ดร.นิเวศน์เคยฟังลูกสาวแนะนำว่า google ดี Apple ดี Sumsung ดี (แต่ท่านยังไม่ได้ซื้อ) เพราะคนเหล่านั้นอยู่ในสังคมที่ได้สัมผัสจริงๆ ใช้งานจริงๆ และไม่มีส่วนได้เสียในตลาดหุ้น
คำถามที่ต้องระวัง
1.ขายหุ้นเมื่อไหร่ คำตอบคือขายเมื่อ Over Value แล้วอะไรคือ Over Value ถ้าลงทุนตลอดชีวิต เลือกกิจการดีเยี่ยม เติบโตต่อเนื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องขาย
2.การใช้PEG ต้องระวัง ถ้า PE ข้อมูลผิด G ข้อมูลผิด คำนวณสุดท้ายมันก็ผิดหมด (แต่อาจจะ work ก็ได้เพราะทุกคนก็ใช้เหมือนกัน)
3.PE อาจจะไม่มีความหมายมากนัก ให้ดูที่ คุณภาพกิจการ + growth ในระยะยาว
4. ตัวเลขต่างๆไม่ต้องดูมาก เน้นที่การแข่งขันใครจะชนะ ใครแข็งแกร่งกว่ากัน
การลงทุน perception สำคัญที่สุด ดร.นิเวศน์ดู maket cap มากที่สุดในการประเมินมูลค่าหุ้น
ความเข้าใจผิดของคนที่ไม่ได้ลงทุนแบบวีไอ
1.นักลงทนขาใหญ่ มืออาชีพ นักลงทุนสถาบัน ย่อมเก่งกว่านักลงทุนสมัครเล่น >> ไม่จริง เพราะขึ้นกับผลประกอบการบริษัท
2. การลงทุนต้องมีเวลาตามหุ้นมากๆ มีความรู้ในการวิเคราะห์สูง มีเงินมากพอ
3. การลงทุนในหุ้น เป็นเรื่องของการเก็งกำไร คนชอบเสี่ยง ได้เสียเร็ว ถ้าไม่อยากหมดตัวอย่าซื้อหุ้น
4. เล่นหุ้นระยะยาว มีความเสี่ยงสูง การเล่นหุ้นต้องไว เข้าเร็วออกเร็ว
คำถามหลังอบรม
1.ราคาที่เหมาะสม ตาม ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ Efficient market ดร.นิเวศน์ บอกว่า อย่าไปประเมินราคาตลาดต่ำไป แล้วเชื่อมั่นราคาที่เราประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตัวเราเองมากเกินไป เพราะราคาตลาดที่ปรากฏเป็นราคาที่ทุกคนในตลาดให้ราคา ณ ขณะนั้น
2. ดร.นิเวศน์ เปลี่ยนจาก CPN มาเข้า BigC เพราะช่วงนั้น bigC จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซื้อคาร์ฟู โดยที่ไม่เพิ่มทุน หาเงินกู้ได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายผู้บริหาร(คาร์ฟูเดิม) ลดค่าโฆษณา ซึ่งน่าสนใจมาก
3.เปรียบเทียบตอนดัชนี 1700 และ 1300 ในตอนนี้ สิ่งที่เหมือนกันคือ หุ้น IPO เยอะและวิ่งแรง 2. มีการเทคโอเวอร์มาก สัญญาณส่งออกชะลอตัว แต่สิ่งที่แตกต่างคือ หนี้บริษัทจดทะเบียนตอนนี้น้อยกว่าตอนนั้นมาก และนักลงทุนมีหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้น (ดร.สรุปในบทความล่าสุด เดจาวู) ช่วงนี้ตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะ ดร.ท่านยังไม่ได้ทำอะไรกับพอร์ต แต่หาโอกาสลงทุนต่างประเทศในกิจการคุณภาพดีๆ ยังไม่แพง
4. เปรียบเทียบเมื่อก่อนกับตอนนี้ ดร.นิเวศน์ต้องใช้เวลาวิเคราะห์หุ้นเพิ่มขึ้น น้อยลงหรือไม่อย่างไร ... ท่านบอกว่า ท่านก็ทำเหมือนเมื่อก่อน ปกติไม่วิเคราะห์มาก แต่เน้นสังเกตในการใช้ชีวิตประจำวัน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วคิดเปรียบเทียบเป็นมุมมองของการแข่งขัน ใครจะชนะ/แพ้
ผลตอบแทนทบต้นทำได้ 15% ต่อปีก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว อย่าไปตั้งเป้ารวยเร็ว ตั้งเป้าเกินตัว บัฟเฟตต์ได้ปีละ 20 กว่า% แต่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก บางคนตั้งเป้ารวยเร็วเช่น ปีละ 100% แบบนี้อันตราย
การซื้อขายหุ้น 2 แบบ
1.Value Investor ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ รวยตามธุรกิจที่เติบโต พบคนล้มเหลวน้อยกว่า
2. Stock Trader ใช้ข้อมูลพื้นฐานมาเก็งกำไร พบคนล้มเหลวที่ลงทุนด้วยวิธีนี้มากกว่า
ดร.นิเวศน์ ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ เช่น มาม่า คนกินเป็น 10 ปี เปลี่ยนแปลงยาก สามารถปรับราคาได้
เสริมสุข ตอนนั้น market cap 2000 ล้าน เงินสด 500 ล้าน ยอดขาย 15000 ล้าน กำไร 500 ล้าน คิดว่า 3 ปีก็คืนทุน ราคาถูกมากๆ
Intrinsic Value มูลค่าที่จริง ดร.นิเวศน์ให้นิยามว่า “มูลค่าที่เราห้ามขาย”
ปัจจุบัน สไตล์เล่นหุ้นของคนส่วนใหญ่ จะเน้นการ ขุดหุ้น คล้ายๆ ไปหาหอยที่ดอนหอยหลอด คือ พอกำไรก็ขาย ไปขุดหุ้นตัวใหม่ จนปัจจุบันหาหุ้นที่จะขุดยากขึ้น เหมือนดอนหอยหลอด ก็ไม่ค่อยจะมีหอยแล้ว
เกรแฮม เลือกหุ้นคุณภาพไม่ต้องดีมาก ขอให้ราคาถูกมากๆ บัฟเฟตต์เลือกหุ้นคุณภาพดีมาก ยอมจ่ายในราคายุติธรรม
ลักษณะของกิจการที่มีคุณภาพ
1.กำไรสม่ำเสมอ เพิ่มขึ้นช้าๆ มานาน (เพิ่มเร็วต้องระวัง)
2.หนี้น้อย
3.Net profit margin สูง ROE สูง
4. ผู้บริหารโปร่งใส ไม่โกง ไม่เอาเปรียบ
5.ผู้บริหารไม่ขยายงานมั่วไปหมด
6.มองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นหลัก
ยุคปัจจุบัน brand ลดความสำคัญลงมาก สิ่งที่สำคัญมากขึ้นคือ เรื่อง ความสะดวกสบาย ยกเว้น brand แฟชั่น เช่น หลุยส์ วิตอง ยังคงมีสำคัญ
คุณภาพของธุรกิจแต่ละประเภท
1. ธุรกิจที่มี brand แข็งแกร่ง ขึ้นราคาได้ ไม่มีสินค้าทดแทน เป็นผู้นำตลาด
2. ธุรกิจสัมปทาน ที่ดีควรจะจ่ายสัมปทานน้อย มีคู่แข่งน้อย ไม่ถูกควบคุมราคา มีกำไรดี
3. สถาบันการเงิน แบงค์ดี เงินทุนไม่ดี หลักทรัพย์ไม่ดี
4. สื่อสาร มือถือดี โทรศัพท์พื้นฐานไม่ดี ทีวีดี
5. สาธารณูปโภค ไฟฟ้าดี น้ำดี ทางด่วนไม่ดี (ลงทุนเยอะ ปริมาณรถเริ่มอิ่มตัว)
6. ธุรกิจมีจุดเด่น มีเทคโนโลยีเหนือคู่แข่ง มีความสามารถในการผลิตสูง
7. ธุรกิจโภคภัณฑ์ เป็นบริษัทส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ผลการดำเนินงานไม่สม่ำเสมอ ไม่เด่น ลูกค้าไม่ยิดติดยี่ห้อ ไม่มีความแตกต่าง ราคาเป็นไปตามตลาดโลก
ข้อสังเกต คนที่รวยมากๆ ส่วนใหญ่จะเป็น เจ้าของธุรกิจที่ดีมากๆ และคงอยู่มานาน
ดร.นิเวศน์ เวลาประเมินมูลค่ากิจการ ท่านจะดู maket cap เป็นหลัก ว่าสมศักดิ์ศรีหรือไม่
การใช้ PE ใช้กับกิจการที่ทำกำไรเติบโตต่อเนื่อง ไม่เหมาะกับหุ้นวัฎจักรที่บางครั้งกำไรลดลง
ธุรกิจที่เติบโตด้วยการลงทุนหนักๆ ไม่ดี ธุรกิจที่ดีควรขยายโดยการลงทุนน้อยๆ
การลงทุนระยะยาว
1. ต้องอาศัย การรู้กว้าง + รู้จริง มองในภาพใหญ่ คิดแบบเจ้าของธุรกิจ ขยายได้อีกมากแค่ไหน เช่น ธุรกิจขนาดช้าง แต่ตอนนี้น้ำหนักแค่ 40 kg ก็น่าลงทุน แต่ถ้าธุรกิจเป็นแมว แต่ตอนนี้น้ำหนัก 40 kg ไม่น่าลงทุน
2. มี sense มองแนวโน้มธุรกิจ เช่นประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้พลังงานมาก ประเทศพัฒนาแล้วเน้นความสะดวกสบาย บันเทิง ธุรกิจโรงงาน พวก OEM ลำบาก เพราะแข่งขันทั่วโลก
บางครั้งการซื้อหุ้น โดยฟังจากคนรอบข้างก็มีประโยชน์ เช่น ดร.นิเวศน์เคยฟังลูกสาวแนะนำว่า google ดี Apple ดี Sumsung ดี (แต่ท่านยังไม่ได้ซื้อ) เพราะคนเหล่านั้นอยู่ในสังคมที่ได้สัมผัสจริงๆ ใช้งานจริงๆ และไม่มีส่วนได้เสียในตลาดหุ้น
คำถามที่ต้องระวัง
1.ขายหุ้นเมื่อไหร่ คำตอบคือขายเมื่อ Over Value แล้วอะไรคือ Over Value ถ้าลงทุนตลอดชีวิต เลือกกิจการดีเยี่ยม เติบโตต่อเนื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องขาย
2.การใช้PEG ต้องระวัง ถ้า PE ข้อมูลผิด G ข้อมูลผิด คำนวณสุดท้ายมันก็ผิดหมด (แต่อาจจะ work ก็ได้เพราะทุกคนก็ใช้เหมือนกัน)
3.PE อาจจะไม่มีความหมายมากนัก ให้ดูที่ คุณภาพกิจการ + growth ในระยะยาว
4. ตัวเลขต่างๆไม่ต้องดูมาก เน้นที่การแข่งขันใครจะชนะ ใครแข็งแกร่งกว่ากัน
การลงทุน perception สำคัญที่สุด ดร.นิเวศน์ดู maket cap มากที่สุดในการประเมินมูลค่าหุ้น
ความเข้าใจผิดของคนที่ไม่ได้ลงทุนแบบวีไอ
1.นักลงทนขาใหญ่ มืออาชีพ นักลงทุนสถาบัน ย่อมเก่งกว่านักลงทุนสมัครเล่น >> ไม่จริง เพราะขึ้นกับผลประกอบการบริษัท
2. การลงทุนต้องมีเวลาตามหุ้นมากๆ มีความรู้ในการวิเคราะห์สูง มีเงินมากพอ
3. การลงทุนในหุ้น เป็นเรื่องของการเก็งกำไร คนชอบเสี่ยง ได้เสียเร็ว ถ้าไม่อยากหมดตัวอย่าซื้อหุ้น
4. เล่นหุ้นระยะยาว มีความเสี่ยงสูง การเล่นหุ้นต้องไว เข้าเร็วออกเร็ว
คำถามหลังอบรม
1.ราคาที่เหมาะสม ตาม ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ Efficient market ดร.นิเวศน์ บอกว่า อย่าไปประเมินราคาตลาดต่ำไป แล้วเชื่อมั่นราคาที่เราประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตัวเราเองมากเกินไป เพราะราคาตลาดที่ปรากฏเป็นราคาที่ทุกคนในตลาดให้ราคา ณ ขณะนั้น
2. ดร.นิเวศน์ เปลี่ยนจาก CPN มาเข้า BigC เพราะช่วงนั้น bigC จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซื้อคาร์ฟู โดยที่ไม่เพิ่มทุน หาเงินกู้ได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายผู้บริหาร(คาร์ฟูเดิม) ลดค่าโฆษณา ซึ่งน่าสนใจมาก
3.เปรียบเทียบตอนดัชนี 1700 และ 1300 ในตอนนี้ สิ่งที่เหมือนกันคือ หุ้น IPO เยอะและวิ่งแรง 2. มีการเทคโอเวอร์มาก สัญญาณส่งออกชะลอตัว แต่สิ่งที่แตกต่างคือ หนี้บริษัทจดทะเบียนตอนนี้น้อยกว่าตอนนั้นมาก และนักลงทุนมีหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้น (ดร.สรุปในบทความล่าสุด เดจาวู) ช่วงนี้ตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะ ดร.ท่านยังไม่ได้ทำอะไรกับพอร์ต แต่หาโอกาสลงทุนต่างประเทศในกิจการคุณภาพดีๆ ยังไม่แพง
4. เปรียบเทียบเมื่อก่อนกับตอนนี้ ดร.นิเวศน์ต้องใช้เวลาวิเคราะห์หุ้นเพิ่มขึ้น น้อยลงหรือไม่อย่างไร ... ท่านบอกว่า ท่านก็ทำเหมือนเมื่อก่อน ปกติไม่วิเคราะห์มาก แต่เน้นสังเกตในการใช้ชีวิตประจำวัน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วคิดเปรียบเทียบเป็นมุมมองของการแข่งขัน ใครจะชนะ/แพ้
No comments:
Post a Comment