Wednesday, October 24, 2012

TTA บวก 2.66% "​เ​ก็งกำ​ไร"หลังดัชนีค่าระวาง​เรือ BDI ขึ้น​เหนือ 1,000 จุด

TTA บวก 2.66% "​เ​ก็งกำ​ไร"หลังดัชนีค่าระวาง​เรือ BDI ขึ้น​เหนือ 1,000 จุด

ชื่อ:  TTA (Day).png
ครั้ง: 1583
ขนาด:  33.3 กิโลไบต์

หุ้น TTA ราคาวิ่งขึ้น 2.66% มาอยู่ที่ 19.30 บาท ​เพิ่มขึ้น 0.50 บาท มูลค่าซื้อขาย 58.54 ล้านบาท ​เมื่อ​เวลา 10.12 น. ​โดย​เปิดตลาดที่ 19.10 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 19.50 บาท ​และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 19.10 บาท

นายภาดล วรรณรัตน์ ​ผู้อำนวย​การฝ่ายวิ​เคราะห์หลักทรัพย์ บล.​เมย์​แบงก์ กิม​เอ็ง(ประ​เทศ​ไทย)กล่าวว่า ราคาหุ้น บมจ.​โทรี​เซน​ไทย ​เอ​เยนต์ซีส์(TTA)​เช้านี้ปรับตัวสูงขึ้น ด้วยวอลุ่ม​เทรดที่​เข้ามาอย่างคึกคัก คาดว่าจะ​เป็น​การ​เข้ามา​เ​ก็งกำ​ไรของนักลงทุน หลังจากดัชนีค่าระวาง​เรือ BDI ปรับตัวขึ้นมายืน​เหนือระดับ 1,000 จุด ​โดยวานนี้ปิดที่ 1109.00 จุด ​เพิ่มขึ้น 72.00 จุด(+6.94%)

นอกจากนี้ ราคาหุ้น TTA ​ในปัจจุบันยังอยู่​ในระดับต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี(Book value)ที่ 31.33 บาท/หุ้น ส่วนสัญญาณทาง​เทคนิค​ให้​แนวรับ​ไว้ที่ 19 บาท ​แนวต้าน 20 บาท

ที่มา : อิน​โฟ​เควสท์

Tuesday, October 23, 2012

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' นักถอดงบการเงิน 'ผู้ปราดเปรื่อง'


เซียนหุ้นพอร์ตใหญ่ 'เลข 9 หลัก' ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ ชื่อชั้นระดับ 'ยอดฝีมือ' ในวงการตลาดหุ้น ใครๆ ก็ยกให้เขาเป็น 'หมองบการเงิน'...คนนี้แหละ!! ที่วงการ 'วีไอ' ยกให้เป็น 'นักถอดงบการเงิน' เก่งโครตๆ

ธุรกิจ : BizWeek

วันที่ 9 ตุลาคม 2555 01:00

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' นักถอดงบการเงิน 'ผู้ปราดเปรื่อง'



“ไก่” ธันวา เลาหศิริวงศ์ นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าประเทศไทย คอนเฟิร์มว่า ฉัตรชัยเก่งเรื่องเจาะลึกงบการเงิน ที่ผ่านมาเขาเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีคนเข้ามาดูเยอะมาก ทางสมาคมฯ จะเปิดให้เขามาสอนสมาชิกเร็วๆ นี้..ปัจจุบัน ฉัตรชัย เจ้าของนามแฝง CHATCHAI ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" มีบทบาทเป็น เลขานุการสมาคมฯ นิสัยเป็นคนเที่ยงตรง จะคอยดูแลข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน
ในวงการวีไอร่ำลือว่า “ฉัตร”ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอรายนี้พอร์ตลงทุนใหญ่ ตัวเลขน่าจะไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท คำบอกเล่าของสาวกวีไอบางคนระบุว่า ฉัตรชัยชอบให้ความรู้ผู้อื่น ทำหนังสือสอนวิธีแกะงบการเงินแจกคนใกล้ชิด ใครอยากถอดงบการเงินคล่องๆ ต้องไปหาเขา
ชายผิวขาววัย 44 ปีรายนี้ มีนัดหมายกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เวลา 10 โมงตรง ณ ร้านกาแฟ เซ็ทเทรด ดอท คอม เขาส่งยิ้มทักทายอย่างเป็นมิตร พร้อมนั่งลงตอบคำถาม “พี่ฉัตรมีพอร์ตลงทุนใหญ่ 500 ล้านบาท อย่างเขาว่ากันรึเปล่า!!!” เจ้าตัวหัวเราะ ก่อนตอบว่า “ใครบอกไม่ถึง..มั่วล่ะ!! ผิดคนรึเปล่า! พอร์ตผมก็แค่เกือบแตะ 9 หลักเท่านั้น”
ฉัตรชัย ย้อนประวัติชีวิตวัยเด็กก่อนมาเป็น “เซียนหุ้นรายใหญ่” ให้ฟัง..ตั้งแต่จำความได้ก็วิ่งเล่นอยู่แถวย่านวรจักร ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและแหล่งทำมาหากินของครอบครัว คุณพ่อท่านเป็นคนจีนโบราณ มักเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ตามโอกาสและสถานการณ์ ท่านเคยทำร้านทอง ร้านตัดผม ปั๊มน้ำมัน ตอนนี้ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่นแล้วย้ายออกมาอยู่กับภรรยาและลูกสาว 2 คน (คนโตอายุ 13 ปี คนเล็กอายุ 11 ปี) แถวนั้นน้ำท่วมถึงหน้าแข้ง (หัวเราะ) ต้องพากันอพยพมาอยู่คอนโดมิเนียมแถวพญาไท
"ผมไม่ชอบท่องจำ แต่รักการคำนวณตัวเลขเป็นชีวิตจิตใจ จึงตัดสินใจปูพื้นฐานตัวเองด้วยการเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ผมเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้นก็เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่รุ่น 70 มีเพื่อนร่วมรุ่นเป็น “เอ็มดี” คนปัจจุบันของ บมจ.เอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC) เขาเรียนอยู่แผนกคอมพิวเตอร์ หลังเรียนจบไม่นานก็ไปศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (MBA) ภาคค่ำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะเริ่มอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ตอนนั้นผมเริ่มสนใจการลงทุนแล้ว แต่เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง ทำไมถึงสนใจตลาดหุ้น”
ในช่วงที่เรียนปริญญาตรีปี 2 ฉัตรชัย เริ่มรู้สึกตัวว่าแท้จริงแล้วไม่ได้อยากเรียนวิศวะ แต่รักที่จะเรียนเกี่ยวกับธรุกิจและบัญชีมากกว่า เพราะช่วงนั้นชอบอ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับธุรกิจ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เคยคิดจะย้ายคณะแต่ด้วยความเสียดายเวลา ทำให้หันมาเลือกเรียนวิชาอุตสาหการ ซึ่งจะเรียนเกี่ยวกับการบริหารโรงงานแทน พอเรียนจบปริญญาตรีตอนปี 2533 ก็ไปทำงานเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์ใน บมจ.เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น (MSC) อยู่ตึกไอบีเอ็ม เงินเดือน 7,000-8,000 บาท เขียนใบสมัครงานไว้ตั้งแต่เรียนอยู่ปี 4 เพราะคุณอารู้จักกับผู้บริหาร MSC เขาบอกว่า บริษัทกำลังรับสมัครฝ่ายวิศวกรรม ท่านก็มาชวนผม (เมื่อก่อนคุณอาทำงานอยู่ใน บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี (TCCC) ซึ่งอยู่ตึกเดียวกับ MSC)
จุดเริ่มต้นที่ทำให้อยากลงทุนในตลาดหุ้นนั้น ย้อนกลับไปตอนปี 2533 เขาอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สมัยนั้นจะมีคอลัมน์ที่นำหนังสือของ “ปีเตอร์ ลินซ์” มาแปล (ฉบับแปลและเรียบเรียงโดยสุทธิชัย หยุ่น) ลงอาทิตย์ละตอน ซึ่งเขาติดตามอ่านตลอด รู้สึกว่ามีเหตุมีผล พอมีการรวมเป็นเล่มก็ไปซื้อ เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ ก็เริ่มรู้สึกว่า “เออ!..เรื่องนี้มันถูกกับเรา”
หลังจากศึกษาการลงทุนอยู่ไม่นาน ก็ตัดสินใจนำเงินเก็บประมาณ 20,000 บาท มาเล่นหุ้นในพอร์ตของคนรู้จัก ตอนนั้นยังไม่สามารถเปิดพอร์ตเป็นของตัวเองได้เพราะการเปิดบัญชียุ่งยาก เขาบอกว่า หุ้น ยูนิคอร์ด (UCT) ทำธุรกิจปลาทูน่ากระป๋องส่งออก เป็นหุ้นตัวแรกที่ตัดสินใจซื้อ ได้มาประมาณ 200 หุ้น ราคาหุ้นละ 118 บาท หุ้น UCT ล้มละลายไปแล้ว หลังเจ้าของบริษัท ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ ยิงตัวตาย เมื่อปี 2538 เพราะเจอมรสุมหนี้ 7,000 ล้านบาท
"ถามว่าทำไมตอนนั้นเลือก “จิ้ม” หุ้น UCT เล่าไปแล้วก็ขำตัวเอง บังเอิญว่าเจ้าของเขาเป็นศิษย์เก่าวิศวะ ซึ่งผมไม่ได้รู้จักเขา แต่ตอนนั้นทางคณะพานักศึกษาไปเยี่ยมชมโรงงานของเขา ช่วงนั้น UCT เขาดังเป็นพุลแตก เพราะเป็นบริษัทไทยแห่งแรกที่เข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเคสที่ดังมาก ทำให้ผมคิดว่าเจ้าของบริษัทนี้ท่าจะเก่ง ดูยิ่งใหญ่ อนาคตสงสัยจะดี (หัวเราะ)"
ฉัตรชัย บอกตรงๆ ตอนโน้นซื้อหุ้นไม่เคยดูงบการเงิน ยิ่ง P/E แทบไม่ได้สนใจ เพราะเมื่อก่อนตลาดหุ้นยังเป็นระบบเคาะกระดาน ระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่มีใช้ ทำให้การหาข้อมูลทำได้ยากมาก ถ้านักลงทุนอยากได้ข้อมูลงบการเงินต้องไปเสียเงินขอก็อปข้อมูลใส่แผ่นดิกส์ที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือหากอยากฟังราคาหุ้นต้องรอฟังในรายการวิทยุระบบ AM ซึ่งเขาจะรายงานราคาหุ้นทุกครึ่งชั่วโมง หากพลาดต้องรอฟังอีกครึ่งชั่วโมงต่อไป ยิ่งใครอยากได้หุ้นแล้วโทรไปสั่งซื้อกับมาร์เก็ตติ้ง ไม่ได้หมายความว่าคุณได้แล้วนะ ต้องรอตลาดหุ้นปิดแล้วเขาจะโทรมาบอกว่าที่สั่งไปเนี่ยได้รึเปล่า
"เล่นหุ้นสมัยก่อนเข้าถึงข้อมูลยากจริงๆ ขนาดเข้าสู่ยุคโทรศัพท์มือถือ และเพจเจอร์ ก็ใช่ว่าจะง่าย คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายเดือนละ 1,500 บาท เพื่อให้เขารายงานหุ้นผ่านเพจเจอร์ ราคาเครื่องก็ปาเข้าไปเป็นหมื่นบาท ยิ่งใครอยากได้บทวิเคราะห์ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ คุณต้องเป็นนักลงทุนรายใหญ่เท่านั้นถึงจะได้อ่าน"
เขายอมรับอย่าง “ไม่อาย” ว่า ผลการลงทุนในช่วง 2-3 เดือนแรกออกแนว “เจ๊ง” (หัวเราะ) เพราะเจอเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียเล่นงาน ดัชนีและราคาหุ้นล่วงกว่า 30% ยิ่งราคาหุ้น UCT ยิ่งแย่ “หล่นตุ๊บ” จาก 118 บาท เหลือเพียง 10 กว่าบาท ภายในระยะเวลาไม่นานมาก แต่เขาก็ไม่รู้สึก “เข็ด” เพราะยังลงทุนน้อย ตรงข้ามกลับมองว่าหุ้นมันตกทั้งตลาด ทุกคนก็โดนเหมือนกันหมด หุ้นตกเดี๋ยวมันก็ขึ้น
เมื่อตลาดหุ้นย่ำแย่ ก็เลยหันไปซื้อๆขายๆ หุ้นแบงก์ ไฟแนนซ์ เรียกว่าเล่นตามกระแสข่าวรายวัน ผลออกมา ก็มีทั้ง “ขาดทุน กำไร เสมอตัว” เล่นหุ้นแบบตามสตอรี่ได้ 3-4 ปี ก็เริ่มรู้สึกตัวว่า ไม่เห็นได้อะไรจากการเล่นหุ้นลักษณะนี้
"ผมจึงตัดสินใจลาออกจากงานใน MSC เพื่อมาเรียนต่อปริญญาโทตอนปี 2537 ด้วยความหวังว่า อยากรู้เรื่องเกี่ยวการเงิน บัญชี แบบให้ถูกสเตป เพราะซื้อหนังสือมาอ่านเองมันไม่เข้าใจ ปะติดปะต่อเรื่องราวไม่ได้ มันขาดความมั่นใจ เมื่อเรียนปริญญาโทปี 2 ก็มีโอกาสได้เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค ทำให้เข้าใจถึงปัญหาค่าเงินบาท ตอนนั้นเริ่มรู้แล้วว่า ประเทศกำลังจะเจอปัญหาหนัก จึงตัดสินใจล้างพอร์ตได้เงินกลับมาหลักแสนบาท"
หลายคนคงคิดว่า เงินก้อนนั้นเป็น “กำไร” ที่ได้จากการลงทุนล้วนๆ แต่เปล่าครับ!..เขาบอก มันเป็นเงินที่เติมไปเรื่อยๆ โชคดีมากที่ขายหุ้นออกหมด แม้จะไม่ได้กำไรมากมาย แต่ก็ได้ประสบการณ์กลับมาเพียบ!! ในระหว่างที่เรียนปริญญาโท ก็มีโอกาสใช้ช่วงเวลาสั้นๆประมาณ 1 ปีกว่า ไปทำงานในเครือของผู้จัดการเกี่ยวกับการขายระบบข้อมูล พอเขาเปลี่ยนผู้บริหารก็ลาออกไปทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ เพราะหัวหน้าเก่าแนะนำ ทำงานแบงก์ได้ 4-5 ปี ก็ลาออกตอนปี 2544
เขาเล่าต่อว่า ก่อนจะลาออกจากแบงก์ตอนปี 2542 ก็หวนกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง ตอนนั้นดัชนียืนแถวๆ 200 จุด โดยหอบเงินหลักแสนมาเปิดพอร์ตลงทุนกับ บงล.พูนพิพัฒน์ เพราะรู้มาว่า ภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยกำลังจะผ่าน “จุดเลวร้าย” ตอนนั้นเลือกซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ บล.เอกธำรง (S-ONE-W3) ประมาณ 1 ล้านหน่วย ราคา 0.60 บาท เพราะเห็นว่าเขาไม่มีหนี้ ความเสียหายจากปี 2540 เคลียร์ไปหมดแล้ว เท่าที่ดูทุนบริษัทแล้วยังไงเขาก็อยู่ได้ สาเหตุที่เลือกซื้อวอร์แรนท์ เพราะราคาขึ้นเร็วมากเมื่อเทียบกับหุ้นแม่ และราคาตัวแม่แพงกว่าวอร์แรนท์ 1-2 บาท โชคดีที่ไม่ได้แปลงวอร์แรนท์ เพราะผ่านมา 3 เดือน ขายไป 3.60 บาท ได้กำไรมา 5 เท่า
เมื่อรู้สึกว่า เรามาถูกทาง ก็เริ่มไปไล่ซื้อหุ้นพื้นฐาน แต่เป็นบริษัทไม่ค่อยดังเท่าไร เช่น หุ้น โอเชียนกลาส (OGC) หุ้น ซีเอ็ดยูเคชั่น (SE-ED) หุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) และหุ้น ไทยแลนด์ไอออนเวิคส์ (TIW) เป็นต้น ช่วงนั้นได้ผลตอบแทนจากการลงทุนดีมากเฉลี่ย 50% ผ่านมา 1-2 ปี พอร์ตการลงทุนเติบโตขึ้นจาก “หลักแสนบาท” เป็น “หลักล้านบาท”
"กลับมาครั้งนั้นผมตั้งใจจะลงทุนเพียง “หุ้นพื้นฐาน” อย่างเดียว ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าลงทุนแบบนี้ เขาเรียกว่าแนว VI รู้เพียงว่าต้องลงทุนหุ้นพื้นฐานเหมือน “ปีเตอร์ ลินซ์” เท่านั้น “ปีเตอร์ ลินซ์” เขาเป็นผู้บริหารกองทุนแม็คเจ็ลลันที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงถึง 29% แบบทบต้นในระยะเวลา 13 ปี ช่วงนั้นผมพยายามบอกคนรู้จักให้ลงทุนหุ้นพื้นฐาน แต่เขาไม่เชื่อ ทั้งๆ ที่เห็นว่าเราได้กำไร เพราะช่วงนั้นหลายคนยังมีความเชื่อว่าเล่นหุ้นต้องเล่นตัวที่มีเจ้ามือเท่านั้น ผมก็เลยต้องปล่อยเขาไป"
เซียนหุ้นพอร์ต 9 หลัก เล่าว่า เคยขาดทุนหุ้นตัวหนึ่ง ไม่ขอเอ่ยชื่อ หุ้นตัวนั้นพื้นฐานดี งบการเงินดี แต่เสียตรงที่ผู้บริหารไม่ซื่อตรง ตอนเข้าไปฟังข้อมูลบริษัทก็เริ่มรู้แล้วล่ะ! เพราะถามอะไรไปเข้าตอบไม่เต็มปาก สุดท้ายจึงต้องยอมขายขาดทุน 10-20% แรกๆ ที่หันมาลงทุนแนว VI พอร์ตยังมีแต่หุ้นไซด์เล็กที่ไม่ค่อยขยับเขยื้อนเท่าไร ตรงกันข้ามกับหุ้นกลุ่มแบงก์ที่วิ่งขึ้นทุกวัน ตัวเองยังเคยแอบเผลอใจอยากขายหุ้นตัวเองทิ้งแล้วไปเล่นหุ้นแบงก์ แต่วันหนึ่งก็คิดได้ว่าไม่เอาดีกว่า โชคดีช่วงนั้นทำงานแบงก์ทำให้รู้ว่า แท้จริงแล้วแบงก์ไม่ได้ดีมากขนาดนั้น ซึ่งการขึ้นของตลาดหุ้นในครั้งนั้นมันไม่ปกติ
"นักลงทุนสมัยใหม่อยาก “รวยเร็ว” ทำให้คนบางคนเข้าไปเสี่ยงเล่นหุ้นเก็งกำไร เชื่อผมสิ! มันไม่ได้อะไรนอกจากความสนุก ถ้าอยากรวยในตลาดหุ้นพวกคุณควร “อดทนรอ” อย่าเร่งรีบ..เดินไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึงเป้าหมาย" ฉัตรชัย กล่าวทิ้งท้าย ก่อนเริ่มต้นเล่ากลยุทธ์การลงทุนที่ BizWeek จะนำเสนอต่อในสัปดาห์หน้า

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' วิเคราะห์หุ้น 'รวย'! จากบการเงิน


อยากเล่นหุ้นได้กำไรต้องอ่านงบการเงินให้ 'ขาดกระจุย' ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้น VI เจ้าของพอร์ต 'เลข 9หลัก'

ธุรกิจ : BizWeek

วันที่ 23 ตุลาคม 2555 01:00

'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ' วิเคราะห์หุ้น 'รวย'! จากบการเงิน

เขาเล่าว่า หลังจากค้นพบแนวทางของตัวเอง การเล่นหุ้นก็เริ่มได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ในอดีตเคยมีประสบการณ์ "ถือหุ้นตัวเดียว" นานถึง 8 ปี คือ หุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) โดยใช้ซื้อภรรยา (มยุรี วงแก้วเจริญ) ซื้อตอนปี 2544 เหตุผลที่ชอบหุ้นตัวนี้ เพราะมีกระแสเงินสดดี ซื้อหุ้น WG มาในราคา 13-14 บาท ขายไปตอนราคา 60 บาท (ปัจจุบันราคา 81-82 บาท) เพื่อไปซื้อหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าดีกว่า เฉพาะเงินปันผลอย่างเดียวก็ "คืนทุน" หมดแล้ว ปีแรกๆ ซื้อราคา 13 บาท ปันผล 1 บาท ซึ่งปันผลของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จนปีหลังๆ จ่ายปันผลสูงถึงหุ้นละ 4 บาทฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ วัย 44 ปี เป็นที่ร่ำลือว่ามีความสามารถในการ "ถอดงบการเงิน" เป็นเลิศ เขามีข้อได้เปรียบตรงที่ว่าเคยผ่านงานธนาคารต้องวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้าว่ามีกำลังผ่อนชำระคืนแบงก์ได้หรือไม่ เขานำประสบการณ์ตรงนั้นบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนมาวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ความสามารถนี้เองที่ทำให้เขาสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นได้อย่างงดงาม
นอกจากกระแสเงินสดดีแล้วหุ้นตัวนี้ผลประกอบการเติบโตสม่ำเสมอ เนื่องจากไว้ท์กรุ๊ปมีสูตรเคมีภัณฑ์เฉพาะเป็นของตัวเอง ลูกค้าอยากได้แบบไหนบริษัททำได้หมด ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่สำคัญสมัยก่อนบริษัทนี้ ยังมีธุรกิจอื่นเสริมโดยเฉพาะธุรกิจโกดังให้ลูกค้าเช่าเป็นคลังสินค้า และมีสำนักงานให้เช่าแถวเอกมัย ทำให้เขามีกระแสเงินสด และมีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น เพราะตึกมันลงทุนไปแล้วสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจทั้งหมดทำให้ไว้ท์กรุ๊ป มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงที่เก็บหุ้น WG บริษัทนี้ยังไม่มีใครรู้จัก
ความแตกต่างจากเซียนหุ้นทั่วไป ฉัตรชัยจะทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นที่เขามั่นใจเพียงไม่กี่ตัว เรียกว่า "จัดเต็ม" แบบไม่กลัวเสี่ยง..ถ้าเขามั่นใจ ปัจจุบันเขาถือหุ้นเพียงแค่ 2 ตัว โดยหุ้นตัวแรกถือ 90% ของพอร์ต อีกตัวถือ 10% ของพอร์ต
"ผมลงทุนไม่เหมือนคนอื่นเป็นคนซื้อหุ้นยากมาก ในรอบ 10 กว่าปีมานี้ถือหุ้นไม่กี่ตัว คนอื่นเขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ผมจะถือหุ้นไปจนกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ในอดีตเคยถือหุ้นมากที่สุดแค่ 4 หุ้น ผมมันพวก “สเปกเยอะ” ถ้ามั่นใจตัวไหนผม “จัดเต็ม” อย่างตอนนี้มีหุ้นอยู่ในมือแค่ 2 ตัว ใครเป็นมาร์เก็ตติ้งผมไม่ค่อยได้ค่าคอมมิชชั่นเท่าไร"
แม้ฉัตรชัยจะไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อหุ้นที่ซื้อ แต่จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบชื่อ มยุรี วงแก้วเจริญ ภรรยาของ ฉัตรชัย ถือหุ้น ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) 6,801,000 หุ้น สัดส่วน 2.52% และหุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) จำนวน 500,000 หุ้น สัดส่วน 1.86% ปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 130 ล้านบาท
ทำไม! ถึงซื้อหุ้น 2 ตัวนี้ เซียนหุ้นร้อยล้าน บอกเพียงว่า ตัวที่โฟกัส 90% ของพอร์ตอยู่กลุ่ม Commerce บริษัทไม่มีคู่แข่ง ทำธุรกิจสบายๆ ผู้บริหารเก่ง (บุญยง ตันสกุล) ถือหุ้นตัวนี้มานาน 2-3 ปีแล้ว ตอนนี้เขาโตเร็วมาก และยังมีช่องจะเติบโตเพื่อกินมาร์เก็ตแชร์เจ้าอื่นด้วย สมัยก่อนบริษัทนี้เคยผิดพลาดทำให้เขาล้ม ตอนนี้กำลังจะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง จากการวิเคราะห์งบการเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า มั่นใจว่าบริษัทนี้จะขยายตัวสม่ำเสมอทุกปี
ส่วนหุ้นอีกตัวที่โฟกัส 10% อยู่ในกลุ่มโรงแรม ถือหุ้นมาแล้ว 2 ปี หุ้นตัวนี้ไม่ได้เข้าข่ายกลยุทธ์ไม่มีคู่แข่ง หรืองบการเงินดีเท่าไร จริงๆ ไม่ค่อยอยากจะพูดเท่าไร ตอนที่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะเห็นว่าบริษัทสามารถต่อสัญญาเช่าที่ดินแถวสามย่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงแรมกับเจ้าของที่ดินได้ เห็นว่าทำเลค่อนข้างดีก็เลยซื้อหุ้นเก็บไว้ ช่วงนั้นคิดว่าจะถือไว้สัก 3 ปี น่าจะได้กำไร ปัจจุบันบริษัทนี้มีโรงแรมในกรุงเทพ 1 แห่ง และที่เขาใหญ่ 1 แห่ง
“ผมเชื่อว่าหุ้น 2 ตัวนี้ (SINGER, MANRIN) จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แม้วันนี้หุ้นตัวหนึ่งจะปันผลน้อยเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ เขาต้องนำเงินไปลงทุนขยายกิจการหลังจากเพิ่งฟื้นตัว ส่วนอีกตัววันนี้ยังไม่มีเงินปันผล แต่ระยะยาวน่าจะดี..ผมอดทนรอได้”
เซียนหุ้นวีไอวัย 44 ปี กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้ อยู่ตรงที่ส่วนใหญ่ “แพงมาก" แล้ว ซึ่งตนเองชอบซื้อหุ้นตอนราคาต่ำกว่าพื้นฐาน 50% ปัจจุบันหาได้ยาก หุ้นค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล ไม่สนใจแม้ธุรกิจจะดีแต่ราคาก็แพง ถ้าวันหนึ่งราคาลงมาอาจจะซื้อ การลงทุนแบบวีไอสำคัญที่ต้องประเมินมูลค่าหุ้นให้เป็น ก็เหมือนการซื้อรถยนต์ ถึงรถจะดีแต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็ไม่ซื้อ "ของดี" อาจไม่ใช่ของที่ "ดีที่สุด" ก็ได้
ส่วนพวกหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ เขายอมรับว่า "ไม่ชำนาญ" วงจรธุรกิจสวิงมากเหมาะกับการ "เก็งกำไร" มากกว่าโอกาสพลาดมีสูง ส่วนหุ้น IPO ไม่ชอบเลย ฐานข้อมูลต่างๆ ยังน้อย ชอบหุ้นที่เห็นกันมานาน 5-10 ปีดีกว่า ปัจจุบันฉัตรชัย จะลงทุนผ่าน บล.เคที ซีมิโก้ และ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เขาชอบแชร์ข้อมูลดีๆ ผ่านเว็บไซต์และชวนกันไปฟังข้อมูลจากผู้บริหาร
ถามว่าการลงทุนตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร..? เขากล่าวว่า บอกตรงๆ ไม่เคยคิดเลย ตอนเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกมีคนเคยบอกว่า คนเล่นหุ้น 10 คน เจ๊ง 8 คน เสมอ 1 คน ได้กำไร 1 คน ส่วนตัวขอเป็น 2 ใน 10 คนที่ไม่เจ๊งก็พอ ทุกวันนี้ยึดอาชีพนักลงทุนอย่างเดียว ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีลูกสาว 2 คน หลายคนอยากออกมาทำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง การลงทุนในหุ้นก็เป็นเจ้าของกิจการได้เหมือนกัน แถมมีข้อดีมากกว่าด้วยเพราะถ้ากิจการไม่ดีเราสามารถขายหุ้นไปลงทุนกิจการใหม่ได้
ฉัตรชัย บอกว่า รู้สึกตะขิดตะขวงใจทุกครั้งเวลาฟังรายการวิทยุมีนักลงทุนโทรไปถามนักวิเคราะห์ว่าติดหุ้นตัวนี้ควรซื้อหรือขายดี นักวิเคราะห์ก็จะถามกลับว่าต้นทุนเท่าไร อยากถามว่าต้นทุนมันเกี่ยวอะไรกัน เราซื้อหุ้นต้องดูที่อนาคตไม่ใช่ต้นทุน สมมติติดหุ้นราคา 20 บาท ราคาตลาด 15 บาท แต่หุ้นมีโอกาสวิ่งไป 30 บาท ฉะนั้นคำแนะนำแบบนั้นมันใช้ได้มั้ย!
เขาบอกว่า เท่าที่สัมผัสนักลงทุนส่วนมากชอบ "สูตรสำเร็จ" การลงทุนไม่มีสูตรสำเร็จ และสูตรสำเร็จของแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ก็ไม่เหมือนกัน อยากจะเล่าให้ฟังสมัยก่อนตอนเกิดวิกฤติแบล็คมันเดย์ คนที่ทน "ถือหุ้น" หรือ "ซื้อเพิ่ม" เขาได้กำไรกันถ้วนหน้า เพราะหุ้นตกไม่นานก็ขึ้น พอมาวิกฤติปี 2540 คนก็ยังคิดว่าตลาดหุ้นจะเป็นแบบนั้นอีก ก็พากันแห่ไปไล่ซื้อ สุดท้ายหุ้นตกจาก 1,700 จุด ตกเหลือ 200 จุด
"สุดท้ายเจ๊งกันหมด บางบริษัทปิดตัวไปเลย ฉะนั้นคุณต้องรู้จักประเมินมูลค่าธุรกิจ และวิเคราะห์สถานการณ์ให้ออก การลงทุนมันไม่สูตรสำเร็จว่าถ้าเกิดวิกฤตแล้วต้องซื้อหุ้นเท่านั้น ขายเท่านี้..มันไม่มี"
เซียนหุ้นวีไอร้อยล้าน กล่าวปิดท้ายว่า กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นให้ซื้อหุ้นตอนวิกฤติ เพราะจะได้ของถูก คนพูดแบบนี้แปลว่าประสบการณ์เขายังน้อยคงยังไม่เคยโดนวิกฤติตอนปี 2540 (หัวเราะ) ถ้าผ่านมาแล้วจะไม่พูดแบบนี้ ส่วนตัวไม่เคยขายหุ้นตอนวิกฤติ หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นพื้นฐานดีจริงๆ วันหนึ่งมันต้องกลับมา
'กำไรสุทธิ' สำคัญน้อยกว่า 'กระแสเงินสด'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ "ร้อยล้าน" จะให้น้ำหนักการวิเคราะห์ลักษณะกิจการที่น่าลงทุนโดยพิจารณา 3 ส่วนหลักๆ คือ หนึ่ง..กระแสเงินสดของกิจการ บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติเติบโตสม่ำเสมอ ไม่ใช่กระแสเงินสดจากรายการพิเศษที่รับครั้งเดียว สอง..อัตราการจ่ายเงินปันผล ต้องสมเหตุสมผล สาม..คุณภาพสินทรัพย์ "ต้องดี" ส่วนพวกค่า P/E ยิ่งต่ำๆ ยิ่งดี แต่ไม่ได้ยึดติดเท่าไร ส่วนค่า P/BV ไม่ได้ดูเลย
สำหรับวิธีการดูงบการเงินอย่างย่อ ขั้นตอนแรก..เราจะต้องอ่าน "งบดุล" ของบริษัทนั้นก่อน ในงบดุลจะแสดง "สินทรัพย์" และ "หนี้สิน" สิ่งที่จะต้องไล่ดูคือ บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร สินทรัพย์สำคัญของบริษัทนั้นคืออะไรและมันสอดคล้องกับการทำธุรกิจนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่าง บางบริษัทมีเงินลงทุนในพอร์ตหุ้นจำนวนมากถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่ใช่หุ้นที่ดี เราต้องมองโครงสร้างธุรกิจให้ขาด
จากนั้นก็ดู "คุณภาพสินทรัพย์แต่ละรายการ" ว่ามีมูลค่าตามที่บันทึกในบัญชีหรือไม่ เพราะบางครั้งมีการแต่งตัวเลขได้ ให้ดูลูกหนี้การค้า "ผิดนัดชำระ" เยอะมั้ย! แล้วมีการ "ตั้งสำรอง" เพียงพอหรือไม่ จากนั้นก็มาดูว่าบริษัทดังกล่าวมีหนี้สินเทียบกับทุนจดทะเบียนเยอะขนาดไหน เมื่อตรวจสอบครบแล้วเราก็เอางบดุล 3 ปี มาเปรียบเทียบกันจะทำให้เรารู้ว่าที่ผ่านมางบการเงินของเขาเป็นอย่างไร 
ขั้นตอนต่อไปให้ดู “งบกำไรขาดทุน” ให้เน้นที่ “กำไรขั้นต้น” บริษัทที่ดีควรมีกำไรขั้นต้นอยู่ในระดับสูงทั้งในปัจจุบัน และอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า จากนั้นจะดูว่าบริษัทมี "อัตรากำไรสุทธิ" เท่าไร ถ้าตัวเลขอยู่สูงๆ จะดีมาก เพราะจะบ่งบอกได้ว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างดี ไม่ใช่มาร์จิ้นบางเฉียบแค่ 1% หรือครึ่งเปอร์เซ็นต์ แบบนี้ไม่เอาปล่อยผ่านไป
"ผมชอบบริษัทที่มีกำไรขั้นต้นประมาณ 20% มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ที่สำคัญบริษัทนั้นต้องมีต้นทุนขายลดลงหรือเสมอตัว ไม่เพิ่มเติมไปกว่าเดิม หากจะมีต้องมีเหตุผลที่สนับสนุนและต้องไม่ผันผวน"
ฉัตรชัย บอกว่า ส่วนตัวไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ "กำไรสุทธิ" มากเท่าไร เคยมีคำพูดประโยคหนึ่ง “Profit is opinion cash is real” กำไรเป็นเพียงความคิดเห็น กระแสเงินสดคือของจริง เพราะในงบกำไรขาดทุนบางอย่างมันขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางบัญชี โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาการตัดค่าเสื่อมราคา ซึ่งมันสามารถทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ทั้งๆ ที่เราค้าขายเหมือนเดิม
เขาเล่าต่อว่า ขั้นตอนสุดท้าย จะดู “งบกระแสเงินสด” เพราะมันจะบ่งบอกถึง "วงจรธุรกิจ" บางบริษัทมีกำไรดีแต่ไม่มีเงินให้ผู้ถือหุ้นเลย ได้เงินมาเท่าไรต้องนำไปซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ หรือลงทุนตลอดเวลา บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดเติบโตทุกปีเฉลี่ย 10-15% กระแสเงินสดจะบอกอะไรได้เยอะมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเงินเข้ามาจากการขายของ หรือไปกู้แบงก์หรือได้มากจากรายการพิเศษ
งบกระแสเงินสด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. จากการดำเนินงาน เงินรับเข้าและจ่ายออก 2. การลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักร ขายที่ดิน ขายเครื่องจักร ฯลฯ 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน เช่น เพิ่มทุน กู้ยืมเงิน จ่ายเงินกู้ ซึ่งเงินสดจากการดำเนินงานสำคัญที่สุด เพราะมันจะบ่งบอกว่าบริษัทดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดเหลือหรือไม่
สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนไม่ควรลืมดู นั่นคือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะจะบ่งบอกว่าวิธีการตั้งบัญชีมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง การรับรู้รายได้ขั้นตอนไหนถึงเรียกว่าเป็นรายได้ บางบริษัทบอกว่า “ฉันจะมีรายได้ตั้งแต่เอาหนังสือไปตั้งขาย แต่บางบริษัทบอกไม่ใช่ฉันจะมีรายได้เมื่อขายหนังสือได้แล้ว”
เขาระบายความในใจสั้นๆ ว่า นักลงทุนสมัยนี้เข้ามาลงทุนแล้วอยาก “รวยเร็ว” อยากได้สูตรสำเร็จให้คนเก่งช่วยกรองให้ว่า หุ้นที่ดีต้องมีค่า P/E เท่าไร ผลตอบแทนต้องเท่าไร ถ้าบริษัทไหนเข้าหลักเกณฑ์ฉันจะซื้อเลย ในความเป็นจริง “มันไม่ใช่” ถามว่าคุณเข้าใจหรือไม่ว่า การคำนวณราคาหุ้นด้วยค่า P/E คืออะไร..ผมเชื่อเลย “ไม่เข้าใจ”
สมมติหุ้นตัวนี้มีค่า P/E 10 เท่า หมายความว่า กำไร 1 บาท ราคาหุ้น 10 บาท นั่นแปลว่า ซื้อหุ้นแล้วอีก 10 ปีคืนทุน ตกกำไรปีละ 1 บาท แต่บางธุรกิจกำไรมันผันผวนจะให้มีกำไร 1 บาททุกปี มันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นการใช้ค่า P/E คำนวณราคาหุ้นต้องใช้กับบริษัทที่เติบโตสม่ำเสมอ จริงอยู่การเล่นหุ้นด้วยการดูค่า P/E มันใช้ง่าย เพราะมันโชว์อยู่ในหนังสือพิมพ์ทุกวัน แต่มันไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่อย่างนั้นนักลงทุนคงกำไรกันทั้งโลก
"ผมอยากให้นักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดให้ลึก บางคนถามว่าบริษัทที่ดีควรมีอัตราหนิ้สินต่อทุนเท่าไร มันก็ไม่มีสูตรเหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร แต่ถ้าเป็นบริษัททำธุรกิจปกติทั่วไปหนี้สินต่อทุนควรอยู่ระดับ 2 ต่อ 1 ไม่ควรมากกว่านี้"

Wednesday, October 17, 2012

BCPครึ่งปีหลังเด่นกว่ากลุ่ม โซลาร์ฟาร์หนุนโตระยะยาว


BCPครึ่งปีหลังเด่นกว่ากลุ่ม
โซลาร์ฟาร์หนุนโตระยะยาว

วันศุกร์ที่ 05 ตุลาคม 2555 เวลา 09:19:16 น. 
ผู้เข้าชม : 812 คน 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะนำ “ซื้อ” BCP มองโมเมนตั้มผลประกอบการ 2H55 เด่นกว่ากลุ่ม และไตรมาส 3/55 ดีกว่าคาด เป้าหมาย 27 บาท โดยระบุในบทวิเคราะห์ ดังนี้

ประเด็นการลงทุน : แนวโน้มผลประกอบการ 3Q55 ที่อาจดีกว่าเราคาด และแนวโน้มผลประกอบการที่จะดีต่อไปใน 4Q55 หลังการกลับมาเปิดผลิตของ CDU 3 กลางเดือน ต.ค. หนุนให้กำไรเด่นกว่ากลุ่มที่คาดจะอ่อนตัวลง หลังไม่มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน แนวโน้มผลประกอบการใน 2 ปีข้างหน้าจะมีความผันผวนลดลงหลังการเปิดดำเนินการของโซลาร์ฟาร์มเฟสที่ 2 และ 3  อีกทั้ง valuation ที่ถูกกว่าคู่แข่งทั้ง ทำให้เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 27.00 บาท
กำไร 3Q55 อาจดีกว่าที่คาดไว้เดิม : BCP อาจรายงานกำไร 3Q55 มากกว่าที่เราประเมินไว้เดิมที่ 687 ล้านบาทประมาณ 10-20% พลิกจากผลขาดทุนสุทธิ 385 ล้านบาทใน 2Q55 ปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้กำไรดีกว่าที่เราประเมิน ได้แก่การบันทึกกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงคลังจำนวน 1,061 ล้านบาทในช่วงสิ้น 2Q55 และการรับรู้ผลจากสต๊อกทีเกิดระหว่าง 3Q55 เนื่องจากมีเหตุเพลิงไหม้ทำให้การผลิตต่างจากการผลิตปกติ อย่างไรก็ตามรายการดังกล่าวไม่ได้มาจากการดำเนินการปกติ เราจึงยังไม่ปรับปรุงคาดการณ์และปล่อยให้เป็นอัพไซด์สำหรับประมาณการของเรา
CDU 3 กลับมาผลิตกลางเดือน ต.ค. รายได้จากประกันทยอยรับรู้ใน 4Q55 - 1Q56: BCP ยืนยันว่าหน่วยกลั่นที่ 3 (CDU3) ที่หยุดซ่อมบำรุงจากเหตุเพลิงไหม้จะกลับมาเปิดผลิตตามแผนในช่วงกลางเดือน ต.ค. ส่วนรายได้จากประกันภัยคาดจะทยอยรับรู้ค่าชดเชยความเสียหาย (Property damage) ประมาณ 700-800 ล้านบาท (ก่อนภาษี) ใน 4Q55 และ 1Q56 ส่วนค่าชดเชยจากค่าเสียโอกาส (Business interruption) ตั้งแต่วันที่ 61 หลังหยุดผลิตจะรับรู้ใน 1Q56 เพราะต้องใช้เวลาในการเจรจาเพื่อพิสูจน์ความสามารถของโรงกลั่น เราคาดรายได้ดังกล่าว 400-500 ล้านบาท (ก่อนภาษี) บนสมมติฐานค่าการกลั่น 5 เหรียญต่อบาร์เรลและ crude run 60KBD
โซลาร์ฟาร์มหนุนการเติบโตในปี 2556-57 และในระยะยาว : โครงการโซลาร์ฟาร์มเปิดดำเนินการเฟสที่ 1 สมบูรณ์ในวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่วนเฟสที่ 2 16 MW แรกจะเปิดในเดือน ธ.ค. ที่เหลืออีก 16 MW คาดจะเปิดใน 1Q56 ทำให้กำไรจากโซลาฟาร์มเพิ่มเป็น 15% ของประมาณการในปี 2556 ส่วนเฟสสุดท้ายกำลังการผลิต 48 MW ส่วนแรก 16 MW ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรีคาดจะเปิดในเดือน ธ.ค. 2556 ส่วนหลังอีก 32 MW อยู่ระหว่างการจัดซื้อที่ดินคาดก่อสร้างเสร็จในปี 2557 เรายังไม่ได้รวมโครงการเฟส 3 ไว้ในประมาณการ หากบริษัทมีแผนที่ชัดเจนจะเป็นอัพไซด์ต่อราคาเป้าหมายของเรา ภายหลังเปิดครบทั้ง 3 เฟสกำไรจากธุรกิจโซลาร์ฟาร์มจะเพิ่มเป็นประมาณ 25% มีช่วยลดความผันผวนของผลประกอบการจากธุรกิจโรงกลั่น สำหรับในระยะยาวเราคาดแผนการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม PDP ใหม่จะช่วยหนุนโอกาสเติบโตของ BCP ซึ่งอยู่ในธุรกิจอยู่แล้วจึงได้เปรียบคู่แข่งรายอื่น เนื่องจากสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในการบริหารและการก่อสร้าง รวมถึงเงินทุนซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญของ BCP
คงคำแนะนำ ซื้อ : ปัจจุบัน BCP ซื้อขายด้วย PER13 ที่ 7.4 เท่า และ PBV13 ที่ 0.98 เท่า ถูกกว่าเมื่อเทียบกับโรงกลั่นอื่นทั้งในและต่างประเทศ และแม้จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 0.74 เท่า แต่เราเชื่อว่า BCP เหมาะสมที่ซื้อขายแพงขึ้นจากความสามารถของโรงกลั่นที่สูงขึ้นและสัดส่วนกำไรของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มที่เพิ่มขึ้นจะมีส่วนสำคัญช่วยผลักดันให้ BCP ถูก re-rating (ผู้ประกอบการโซลาร์ฟาร์มซื้อขายด้วย PBV13 ที่ 3-4 เท่า) คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 27.00 บาท (SOTP)

TICONผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ผลตอบแทนปันผล7-8%


TICONผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
ผลตอบแทนปันผล7-8%

วันจันทร์ที่ 08 ตุลาคม 2555 เวลา 09:50:36 น. 
ผู้เข้าชม : 693 คน 

บล.กสิกรไทย แนะนำ “ซื้อ” TICON (ปิด 13.20 เป้าระยะสั้น 14.20 ขายเมื่อหลุด 12.10) โดยระบุในบทวิเคราะห์ ดังนี้ ผลประกอบการไตรมาส 2/55 น่าจะเป็น bottom ของปี ขณะที่ราคาหุ้นสะท้อนเรื่องเพิ่มทุนไปแล้ว นอกจากนี้ ผลตอบแทนปันผลสูงถึง 7-8%

KTBราคาถูก-ปันผลสูง ลงทุนช่วง1-2ปีเป้า25บ.


KTBราคาถูก-ปันผลสูง
ลงทุนช่วง1-2ปีเป้า25บ.

วันจันทร์ที่ 08 ตุลาคม 2555 เวลา 09:27:26 น. 
ผู้เข้าชม : 1708 คน 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ "ซื้อ" หุ้นธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB โดยเลือกเป็นหุ้น Top pick ระยะยาว
ประเด็นการลงทุน : เราคาดว่าในปี 2556 จะเป็นปีที่ความต้องการสินเชื่อภาครัฐจะเร่งตัวขึ้น จากการขยายการลงทุนของโครงการภาครัฐ ซึ่ง KTB น่าจะเป็นธนาคารที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด เราคาดยอดสินเชื่อของ KTB ปี 56 จะเติบโตโดดเด่น 14% และโตต่อเนื่องอีก 14.5% ในปี 57 ในอดีตหุ้น KTB มักซื้อขายที่ระดับ PBV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม แต่ในช่วงปี 2552-54 (โครงการไทยเข้มแข็ง) เป็นช่วงที่ราคาหุ้น Outperform จนขึ้นมาซื้อขายที่ PBV multiple ที่ใกล้เคียงกับกลุ่ม ซึ่งเราคาดว่า Pattern ดังกล่าวจะกลับมาอีกครั้ง รวมทั้งความกังวลต่างๆ ที่เคยกดดัน KTB ค่อยๆได้รับการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง เราจึงแนะนำ "ซื้อ" เป็นหุ้น Top pick สำหรับการลงทุนระยะยาว ราคาเป้าหมายใหม่ 25.0 บาท

TTA บวก 6.4% รับค่าระวางเรือฟื้น หุ้นเทรดแค่ 0.55 เท่าของบุ๊ค


TTA บวก 6.4% รับค่าระวางเรือฟื้น หุ้นเทรดแค่ 0.55 เท่าของบุ๊ค

วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555 เวลา 17:11:11 น. 
ผู้เข้าชม : 492 คน 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ปิดที่ 18.30 บาท บวก 1.10 บาท หรือ 6.40%  มูลค่าการซื้อขาย 343.04 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาหุ้น TTA อ่อนตัวลงต่อเนื่องจากระดับราคา 22.50 บาท ในเดือนก.พ.55 และปรับตัวลงต่ำสุดที่ 15 บาทเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา หลังจากนั้นราคาหุ้นเริ่มแกว่งตัวขึ้น และดีดตัวขึ้นแรงในวันนี้ สนับสนุนด้วยมูลค่าการซื้อขายที่คึกคักว่าปกติ ขณะที่ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยวานนี้ (16 ต.ค.) ปิดที่ 981 บวก 40 จุด หรือ 4.25% สู่ระดับ 981 จุด ทั้งนี้ มูลค่าหุ้นทางบัญชีอยู่ที่ 31.33 บาท และราคาหุ้นซื้อขายที่ระดับ P/BV ที่ 0.55 เท่า
บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า ราคาหุ้น TTA ในปัจจุบันถือว่ายังถูกมาก เพราะราคายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book value) ที่มีกว่า 30 บ/หุ้น นอกจากนี้ ผลประกอบการของ TTA มองว่าน่าจะถึงจุด bottom แล้วในปีนี้ และจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในปีหน้า โดยในไตรมาส 4/55 คาดว่า TTA อาจจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นจากที่ธุรกิจของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ (MML) ที่จะดีขึ้นเนื่องจากได้เข้าสู่ช่วง High Season แต่เชื่อว่าก็ยังไม่ได้ทำให้กำไรของ TTA เติบโตมากมายนัก

โบรกแนะเลือกซื้อ 13 หุ้นอนาคตรุ่ง ดัชนีฟื้นตัว แต่ไปได้ไม่ไกล เน้น 4 กลุ่มธุรกิจขาขึ้น


โบรกแนะเลือกซื้อ 13 หุ้นอนาคตรุ่ง
ดัชนีฟื้นตัว แต่ไปได้ไม่ไกล เน้น 4 กลุ่มธุรกิจขาขึ้น

วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555 เวลา 09:58:59 น. 
ผู้เข้าชม : 3264 คน 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้านี้ ณ เวลา 9.57 น. ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.58 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียมีทั้งปรับตัวอยู่ในแดนบวกและลบ นักวิเคราะห์คาดวันนี้ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัว แต่ไปไหนไม่ได้ไกล เน้นหุ้นที่ไตรมาส 3 กำไรโดดเด่น และหุ้นที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ส่วนการประชุมกนง.วันนี้ไม่ว่าลดหรือคงดอกเบี้ย คาดไม่มีผลต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะเห็นการดึงธนาคาร เช่าซื้อและอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาเก็งกำไร เก็งกำไร 13 หุ้นเด่น ได้แก่ SC, KTB, ERW, THAI, PF, HEMRAJ, PS, AP, THCOM, CPN, AOT JAS, SAMTEL ถือต่อในพอร์ต ได้แก่ TUF, TVO, THAI, RML

บล.ฟินันเซีย ไซรัสระบุว่า ตลาดปรับพักตัวลงมาให้ได้หาจังหวะเลือกหุ้นซื้อแล้ว..จากนั้นเน้นถือ!! กลยุทธ์: แม้ว่าระยะสั้น SET อาจจะแกว่งตัวผันผวนไปบ้าง และมีจังหวะปรับพักตัวลงมาเคลื่อนไหวในด้านลบให้เห็นอยู่ แต่คาดว่ากรอบการลงจะค่อนข้างจำกัด และสุดท้ายแล้วในช่วงท้ายปี FSS ยังคาดหมายว่าจะได้เห็น SET ขยับขึ้นไปเคลื่อนไหวบริเวณระดับดัชนีเป้าหมายทางพื้นฐานของปีนี้ที่ 1350 จุดหรือใกล้เคียงได้ ดังนั้นเราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นทยอยเข้าซื้อได้ในช่วงตลาดอ่อนตัวลง
หุ้นเด่นทางเทคนิค  PF, HEMRAJ, SAMTEL (SBL)
แนวโน้ม ช่วงนี้ผลประกอบการของบริษัทชั้นนำในสหรัฐทยอยประกาศออกมาดีเกินคาด ทั้งบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และบริษัทโกลด์แมน แซคส์ ส่งผลให้นักลงทุนมีความหวังมากขึ้นกับการรายงานผลประกอบการของบริษัทที่เหลือ ขณะที่ในยุโรปก็ยังมั่นใจว่ากรีซและสเปนจะได้รับการช่วยเหลือทางการเงินในเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะในช่วงการประชุม EU Summit วันที่ 18-19 ต.ค. นอกจากนี้การที่ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนช่วงหลังที่ออกมาอ่อนแอลง และผลกำไรของภาคเอกชนในจีนเองก็ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนยังมีความคาดหวังว่าทางการจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้ ทำให้ FSS คาดว่าการปรับตัวลดลงของ SET ในช่วงนี้จะมีกรอบการลงที่จำกัด และสุดท้ายแล้วเรายังคาดว่าดัชนีจะสามารถขยับกลับขึ้นไปที่ระดับดัชนีเป้าหมายปลายปีนี้ที่บริเวณ 1350 จุดหรือใกล้เคียงได้ แนวรับ  1286-1280 , 1277-1270 จุด  แนวต้าน  1298-1302 , 1308-1315 จุด
บล.กสิกรไทยระบุในบทวิเคราะห์ ดังนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ หนุนตลาดฟื้นตัวแนวโน้มตลาด: หุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับขึ้นหลังรัฐสภาเยอรมนีเปิดกว้างสำหรับการที่สเปนจะขอวงเงินกู้จากกองทุนช่วยเหลือของยุโรป อีกทั้งได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมาดี ไม่ว่าจะเป็นดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจเยอรมันต.ค.เพิ่มขึ้นเป็น -1.5 จากก.ย.ที่ -18.2 ในขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมก.ย.เพิ่มขึ้น 0.4% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มเป็น 78.% (จากส.ค. 78.0%) ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาด นอกจากนี้ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยก็ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี นับจาก มิ.ย.49 เป็นต้นมา ปัจจัยในประเทศไทยการประมูล 3G ผ่านไปด้วยดีตามคาด หุ้นสื่อสารกลยุทธ์เป็นการซื้อเมื่ออ่อนตัวโดยอาจดีดตัวช่วงสั้นหรือถูกแรงขายทำกำไรต่อบ้าง การเก็งกำไรช่วงนี้ยังเน้นหุ้นที่มีแนวโน้มรายงานผลประกอบการไตรมาส 3/55 ออกมาดี และที่เริ่มเข้า high season ของการท่องเที่ยวปลายปี การประชุมกนง.วันนี้ไม่ว่าลดหรือคงดอกเบี้ย คาดไม่มีผลต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะเห็นการดึงธนาคาร เช่าซื้อและอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาเก็งกำไร
กลยุทธ์การลงทุน: SET Index น่าจะมีโอกาสยกกรอบการเล่นขึ้นไปสู่ระดับเหนือ 1300 อีกครั้ง ปัจจัยกังวลระยะสั้นน่าจะเริ่มหมดไปและอาจเห็นตลาด sideways up ไปจนหลังการเปลี่ยนผู้นำสหรัฐฯ และจีน (ต้นพ.ย.) โดยมีเรื่องกรีซและสเปนมาเขย่าตลาดเบาๆเป็นระยะ กลยุทธ์ยังเป็นการเก็งกำไรรายตัว และทยอยหุ้นสะสมระยะกลางด้านล่าง หุ้นแนะนำ SC KTB ERW THAI
สำหรับนักลงทุนระยะกลาง: (นับแต่ 14 ก.ย.) น้ำหนักการลงทุนปัจจุบันของเราอยู่ที่ 60% และขอเตรียมเพิ่มขึ้นอีก แต่ในระยะสั้นให้ระมัดระวังความผันผวน ***หากตลาดปรับฐานก.ย.-ต.ค.นี้ เราจะขอเพิ่มน้ำหนัก โดยเน้นหุ้นพลังงาน ปิโตรเคมีเดินเรือ และอิเล็กทรอนิกส์ *** ทยอยสะสม TTA SOLAR ERW AJ KCE
KGI ประเมินตลาดหุ้นไทยวันพุธเปิดรีบาวด์ ไม่น่าผ่านแนวต้าน 1,295 จุด เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นต่างประเทศบวกอย่างแข็งแกร่งแต่ข่าวสารที่สนับสนุนราคาหุ้นเป็นข่าวเล็กๆ หลายๆ ข่าวที่นักลงทุนจับมารวมกันและเราคาดว่าจะหนุนตลาดได้ไม่มากนัก ฝั่งสหรัฐฯ แจ้งตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. สูงกว่าคาด ขณะที่ผลประกอบการ บจ.สหรัฐฯ ส่วนใหญ่สูงกว่าที่ตลาดคาดเช่นกันและลดความกังวลในจุดนี้ ส่วนฝั่งยุโรปมีรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของเยอรมันดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน และ นสพ.ท้องถิ่นลงข่าวว่าผู้กำหนดนโยบายของเยอรมันพร้อมจะเปิดวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉินให้กับสเปน ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับวงเงินตัวนี้ว่าเป็นตัวเดียวกับ 1 แสนล้านบาทเพื่อให้สเปนเพิ่มทุนธนาคารหรือเป็นวงเงินใหม่จากกองทุน ESM (เราจะรายงานให้ทราบภายหลัง)
นอกจากนี้ช่วงเช้ามืด Moody’s ได้คงอันดับเครดิตของสเปนที่ Baa3 (แนวโน้มเชิงลบ) ซึ่งช่วยลดความกลัวของนักลงทุนก่อนหน้านี้ว่าสเปนจะถูกลดเกรดลงสู่ระดับขยะ ส่วนปัจจัยถัดไปของยุโรปคือการประชุมผู้นำในวันที่ 18-19 ต.ค. นี้
ด้านปัจจัยในประเทศ ธนาคารไทยส่วนใหญ่แจ้งกำไรไตรมาส 3 ดีตามที่เราและตลาดคาด จึงไม่น่ามีผลต่อราคาหุ้นมากนัก ส่วนการประมูล 3G เมื่อวานนี้เสร็จสิ้นแล้ว และ KGI ยังคงมุมมองว่างบลงทุนและการตลาดที่น่าจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า จะทำให้กำไรของหุ้นในกลุ่มนี้ไม่แข็งแกร่งนัก 
กลยุทธ์เราเชื่อว่าข่าวบวกที่ออกมายังไม่ชัดเจนพอที่จะหนุนให้ทุนต่างชาติกลับเข้าตลาด ตลาดจะยังผันผวนหนักเช่นหลายวันที่ผ่านมา แนะเลี่ยงหุ้นขนาดใหญ่ต่อไป และซื้อหุ้นขนาดกลางที่แนวโน้มกำไรครึ่งปีหลังแข็งแกร่ง เช่น PS*, AP, THCOM, CPN* และ AOT* และซื้อต่อในหุ้นสื่อสารตัวเล็กเช่น JAS,SAMTEL 
บล.ฟิลลิป ระบุในบทวิเคราะห์ ดังนี้ แนวโน้มตลาดวันนี้ฟื้นตัว แต่ยังไม่ไกล กลยุทธ์การลงทุนขึ้นขายลงซื้อ บรรยากาศลงทุนในวันนี้อิงทางฟื้นตัวได้จากแรงหนุนตลาดต่างประเทศที่ได้รับอานิสงส์การประกาศผลประกอบการที่ดีเกินคาดของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐ อาทิ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และโกลด์แมน แซคส์ ทำให้นักลงทุนมีความคาดหวังเชิงบวกกับฤดูการประกาศผลประกอบการที่เหลือ อีกทั้งคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลสเปนใกล้ที่จะขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ และสัญญาณความเชื่อมั่นดีขึ้นในเศรษฐกิจเยอรมนีทำให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคเช้านี้เปิดตัวในแดนบวกค่อนข้างมากค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าอีกครั้งหลังดอลลาร์อ่อนตัวลง ซึ่งเป็นบวกต่อราคาน้ำมันให้ดีดตัวด้วย ด้านปัจจัยภายในเรื่องการประชุมดอกเบี้ยของกนง.ในวันนี้ คาดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม จึงไม่น่าส่งผลต่อตลาดมากนักคาดดัชนีหุ้นไทยวันนี้อาจดีดตัวเข้าใกล้ 1300 จุด อีกระลอก แต่เชื่อว่ายังไม่น่าผ่านไปได้ง่ายดายนัก ขณะที่แรงขายสุทธิของต่างชาติยังคงมีต่อเนื่องทั้งในตลาดหุ้นและอนุพันธ์ แม้ไม่ได้อยู่ในปริมาณมากนัก แต่ก็ยังน่าจับตาการเคลื่อนไหวต่อไปอย่างใกล้ชิด ขณะที่เครื่องมือทางเทคนิคทุกตัวยังส่งสัญญาณขาย
กลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นเก็งกำไรแบบขึ้นขาย ลงซื้อไปก่อน แนวต้าน : 1297,1305 แนวรับ : 1285,1270
การจัดพอร์ตระยะสั้น* - หุ้น 30% : เงินสด 70%
ถือต่อในพอร์ต : TUF, TVO, THAI, RML 
หุ้นที่แนะนำ : HEMRAJ เก็งกำไร FV 3.40 บาท กรอบเทรดระยะสั้น มองต้าน 3.24 รับ 3.10 Cut loss 3.06 บาท
บล.ไทยพาณิชย์ระบุในบทวิเคราะห์ ดังนี้ อัพเดทสื่อสารฯ หลังการประมูล 3G แนะนำถือในหุ้นที่แนะนำมีเพียง THCOM ที่ยังมี Story บวก เป้า 25 บาท - แม้ใบอนุญาต 3G-2.1 GHz มีแนวโน้มที่จะส่งผลดีอย่างมากต่อบริษัทที่ประกอบธรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในแง่ที่ช่วย 1) ขจัดความเสี่ยงเกี่ยวกับความต่อเนื่องในการทำธุรกิจหลังจากสัมปทานสิ้นสุดลง 2) เปิดโอกาสให้ลดต้นทุนการกำกับดูแลต่อหน่วยลงสู่ 5.75% (ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 2% และค่าธรรมเนียม USO 3.75%) จากที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ค่าสัมปทาน 20-30% ในปัจจุบัน และ 3) เปิดโอกาสให้ขยายบริการ wireless broadband เนื่องจาก 3G น่าจะเป็นตัวเลือกในการใช้บริการ broadband เพียงทางเดียวในพื้นที่หลายๆ แห่งในประเทศไทย
เราคาดว่าจะไม่มีข่าวที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้านี้ (แต่จะมีข่าวรบกวนเกี่ยวกับการฟ้องร้องศาลเข้ามาแทน) เรายังคงคำแนะนำ "Neutral" สำหรับ ADVANC และ TRUE ในขณะที่ยังคงคำแนะนำ "ซื้อ" DTAC เพราะราคาหุ้นมีแนวโน้ม Upside เมื่อเทียบกับราคาเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งมีแนวโน้มได้รับประโยชน์มากที่สุดในแง่ของการประหยัดต้นทุนการกำกับดูแลต่อหน่วยได้หลังจากโอนรายได้จากสัมปทานไปยังธุรกิจภายใต้ใบอนุญาต และถูกสุดเมื่อดูจาก EV/EBITDA ปี 2556 ที่ 7.9 เท่า ทั้งนี้เมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มสื่อสาร เราชอบ THCOM (ราคาเป้าหมาย 25 บาท) ซึ่งไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะคาดว่ากำลังจะมีข่าวดีหลายอย่างเข้ามา ได้แก่ การเซ็นสัญญา iPSTAR กับลูกค้าใหญ่รายใหม่ในอินเดีย และการขายกิจการ Mfone ซึ่งสร้างผลขาดทุนออกไป

Tuesday, October 16, 2012

โบรกฯเชียร์ STA,TRUBB ราคายางโลกดีดขึ้นร้อนแรง,มาตรการรัฐช่วยหนุน

บล.เกียรตินาคิน ระบุในบทวิเคราะห์ฯแนะ"ซื้อเก็งกำไร"หุ้น บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี(STA)ราคายางพาราในตลาดโลกกำลังดีดตัวกลับขึ้นมาอย่างร้อนแรงอีกครั้ง หลังซบเซาไปนานถึง 5 เดือน เนื่องจากตั้งแต่ 1 ต.ค.55 ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก ตัดสินใจลดปริมาณส่งออกลงถึง 3 แสนตัน เท่ากับปริมาณการนำเข้าของจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกรวมกัน 5 สัปดาห์ และ ถือเป็นการลดครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ปี 52

ปัจจุบันราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) อยู่ที่ 98.50 บาท เพิ่มขึ้น 20% จากระดับต่ำสุดในเดือน ส.ค. แต่มองว่าราคาหุ้น STA ยังไม่ตอบสนองต่อประเด็นบวกนี้ พร้อมให้แนวรับ 15.10 บาท แนวต้าน 17.50 บาท
ด้าน บล.โกลเบล็ก แนะ"ซื้อเก็งกำไร"หุ้น STA และ บมจ.ไทยรับเบอร์ ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย)( TRUBB)จากกรณีนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รมช.ว่าการเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ราคายางในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำของรัฐ ประกอบกับราคายางโลกยังสามารถทรงตัวได้ในระดับที่ดี นับเป็นปัจจัยบวกต่อผลประกอบการของ TRUBB และ STA
วานนี้(2 ต.ค.)หุ้น STA ปิดที่ 16.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท(+1.27%)
หุ้น TRUBB ปิดที่ 3.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.06 บาท(+1.80%)
-->
Remark :

วันที่ 16 ตุลาคม 2555 01:00 'เงินท่วมโลก' หุ้นไทยไปต่อ!! โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


ผลพวงมาตรการ QE ของประเทศต่างๆ สภาพคล่องในระบบการเงินโลกเอ่อล้น ระดับดัชนี 1,300 จุด กูรูมองแค่ 'พักตัวชั่วคราว' แม้เจอมรสุมบ้าง! หนทางข้างหน้า 'ฟ้ายังไม่ปิด'

ไม่เฉพาะตลาด
หุ้นไทยเท่านั้นที่ "เสี่ยงปรับฐาน" ตลาดหุ้นสำคัญๆ ของโลกก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ไม่มีข่าวร้ายใหญ่ และไม่มีข่าวดีใหม่ อย่างไรก็ตาม กูรูในแวดวงตลาดหุ้นต่างมองไปในทิศทางเดียวกัน "กระทิงยังไม่หมดรอบ" ผลจากสภาพคล่องในระบบการเงินมี "ล้นโลก" จากการออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางประเทศต่างๆ หนุนให้ "สินทรัพย์เสี่ยง" ปรับตัวขึ้นไปได้ต่อตลาดหุ้นวิ่งมาไกล..ต้องมีช่วง "เสียว" กันบ้าง! ถ้าวัดระยะจากสิ้นปี 2554 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,025 จุด เพียง 9 เดือนวิ่งแรลลี่มาไกลถึง 1,314 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 289 จุด หรือเพิ่มขึ้น 28% ทางสถิติในหนึ่งปีถือว่า "วิ่งมาไกลมาก" และหากดูกราฟรายเดือนจะพบว่า SET Index ในรอบนี้ เริ่มออกวิ่งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 (หลังวิกฤติซับไพร์ม) ถึงปัจจุบันเป็น "ขาขึ้นใหญ่" มาแล้ว 3 ปี 10 เดือน ณ ระดับ 1,300 จุด ดัชนีทะยานกลับขึ้นไปเทียบเท่ากับเดือน "พฤษภาคม 2539" แล้ว
เซียนฟันด์โฟลว์ วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ มองว่า แม้จะมีปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุน SET Index แต่อยากให้พิจารณาปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะจากทางฝั่งยุโรปจะมีอิทธิพลทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงด้วย โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดได้แก่ ปัญหา Social unrest ในประเทศสเปนและกรีซ การที่สเปนยังคงแสดงท่าทีไม่ขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกองทุน EFSF/ESM ซึ่งอาจนำมาสู่การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรระยะยาวสู่ระดับ Non-investment grade โดยมูดี้ส์ รวมถึงอาจทำให้โครงการเข้าซื้อพันธบัตรของ ECB ล่าช้าออกไป
นอกจากนี้ ความล่าช้าในการยื่นแผนมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ของกรีซให้กับ Troika ซึ่งก็จะทำให้การรับเงินช่วยเหลือรอบถัดไปมูลค่า 4,200 ล้านยูโรจาก Troika มีความล่าช้าออกไปอีก
ขณะที่ ปัจจัยบวกที่สนับสนุน SET Index ได้แก่ สภาพคล่องในระบบการเงินทั่วโลกที่เอ่อล้นจากการออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางประเทศต่างๆ และความเป็นไปได้ที่กองทุน ESM จะถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันอนุมัติการให้สัตยาบันรับรองการจัดตั้งกองทุน ESM ในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ประเทศจีนอาจมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการคลังออกมาในช่วงการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18
เซียนฟันด์โฟลว์ ประเมินว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรป รวมถึงเศรษฐกิจของสหรัฐ และเศรษฐกิจจีนที่ชะลอ
ตัว อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในด้านการส่งออก หลังจากที่ล่าสุด สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2555 ลงเหลือโต 5.5% จากเดิม 5.7% นอกจากนี้ ยังคาดว่าแบงก์ชาติ และสภาพัฒน์ฯ จะปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเช่นกัน โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังได้แรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังแข็งแกร่ง ทั้งภาคการบริโภค และการลงทุน
เดือนตุลาคม 2555 นี้ ฝ่ายวิจัย บล.ทรีนีตี้ ประเมินว่า SET Index ถึงจะลงแต่ก็ลงเพื่อ "ขึ้นต่อ" หากยังคงยืนเหนือ 1,280 จุดได้ก็จะ "ไซด์เวย์อัพ" ขึ้นไปได้ โดยมีแนวต้านย่อยที่ 1,323 จุด รอบนี้มีแนวต้านสำคัญอยู่แถวๆ 1,350 จุด ขณะเดียวกันถ้าดัชนีลงต่ำกว่า 1,280 จุด ก็มีโอกาสลงมาที่แนวรับสำคัญบริเวณ 1,250 จุด โดย Market Theme เดือนตุลาคม หุ้นที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นหุ้นที่ซัพพลายสินค้าให้กับผู้ให้บริการ 3G และหุ้น ICT ขนาดเล็ก ได้แก่ LOXLEY, JAS, THCOM กลุ่มที่ 2 เป็นหุ้นกลุ่ม Cyclical ที่ราคาค่อนข้างถูก ได้แก่ IRPC กลุ่มที่ 3 เป็นหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ QH, SIRI, RML, STEC และกลุ่มที่ 4 เป็นหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ราคาเป้าหมายยังสูงกว่าราคา ณ ปัจจุบันค่อนข้างมาก ได้แก่ UAC

วรสินี สังวรเวชภัณฑ์ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน ทิสโก้ เวลธ์ เปิดเผยว่า กลยุทธ์การจัดสรรการลงทุนในเดือนนี้ TISCO Wealth มองว่าการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงยังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะตลาดหุ้น เนื่องจากสภาพคล่องที่ล้นตลาดจากการอัดฉีดเม็ดเงินของธนาคารกลางทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่นและยุโรป จะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาหุ้น โดยเฉพาะหุ้นในตลาดเกิดใหม่ ที่ได้รับผลบวกจากแนวโน้มค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกเช่น ดอลลาร์สหรัฐ และเยน โดยนอกเหนือจากสภาพคล่องที่ล้นระบบแล้ว ปัจจุบันราคาหุ้นทั่วโลกนับว่าถูกเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่าการฝากเงิน ดังนั้น การลงทุนตลาดหุ้นจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการลงทุนตอนนี้
วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง กล่าวว่า ทางผู้จัดการกองทุนมองเห็นโอกาสจากกำลังซื้อภายในประเทศที่สูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการปรับตัวขึ้นของหุ้นบางกลุ่ม ทำให้ผลตอบแทนรวมของบลจ.บัวหลวงนับตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันสามารถทำได้กว่า 50% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในภาพรวมปรับตัวขึ้นเพียง 26%
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี เธอมองว่า น่าจะยังคงมีภาพเชิงบวก เนื่องจากเริ่มมีเม็ดเงินต่างชาติโดยเฉพาะผลจากมาตรการ QE3 เข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรที่แห่เข้ามาซื้อรวมกว่า 7 แสนล้านบาท เพราะอัตราผลตอบแทนของบ้านเรายังดีกว่าพันธบัตรในสหรัฐฯค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบจาก QE3 รอบนี้ "จะไม่แรงเท่ากับสองครั้งที่ผ่านมา" แม้ว่ารอบนี้จะไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่ชัดเจน เพราะเห็นได้ว่า QE สองครั้งที่ผ่านมาผลที่มีต่อตลาดหุ้นจะลดลงทุกครั้งอาจเป็นเพราะ "เริ่มดื้อยา" แล้ว ถึงอย่างไรเงินต่างชาติที่จะเข้ามารอบใหม่นี้อาจจะไม่พรวดพราดมากนัก อาจจะมาแบบช้าๆ แต่นาน
มยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) คาดว่าตลาดหุ้นจะมีการปรับฐานก่อนแต่ไม่ลึกระดับ 1,250 จุด อาจจะลงไม่ถึงระดับ 1,280 จุด พอถึงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตลาดหุ้นจะ "วิ่งแรลลี่" อีกครั้ง ประเด็นที่น่าสนใจคนส่วนใหญ่ 90% น่าจะยังไม่ได้ซื้อกองทุน LTF เลย และจะเข้าซื้อกันในช่วงสิ้นปีทำให้ปลายปีนี้ ตลาดหุ้นจะเป็น "ขาขึ้น..พีคที่สุดของปี" คาดว่าปีนี้ หุ้นไทยมีโอกาสแตะระดับ 1,328 จุด ไปจนถึงระดับ 1,350 จุด ซื้อขายที่ค่าพีอี 13 เท่า ถือเป็นการเทรดที่ค่าพรีเมี่ยมและยังมีโอกาสแรลลี่ไปจนถึงต้นปีหน้าได้เลย
ณัฐวัฒน์ อ้นรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายค้าหลักทรัพย์ บล. ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคนิค กล่าวว่า ถ้าหากย้อนไปดูการออกมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะ QE หรือ LTRO หุ้นไทยมักจะขึ้นทุกรอบรวมถึงค่าเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นด้วย หากดูกราฟตอนนี้จะเห็นว่าดัชนีค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์ก็ลงมาทะลุเทรนด์ไลน์ไปแล้วแสดงว่ามีโอกาสจะแข็งค่าได้อีก
หุ้นไทยขึ้นมาเยอะมากเหมือนไม่มีคนอยากจะให้ลง อย่างไรก็ตาม ถ้าหลุดระดับ 1,290 จุด และ 1,250 จุด ต้องทยอยลดพอร์ตลงมาบ้าง มุมมองส่วนตัวยังคิดว่าหุ้นไทยยังสามารถขึ้นไปได้อีกจนถึงระดับ 1,600 จุด โดยมีข้อแม้ว่า SET Index จะต้องไม่หลุดระดับ 1,172 จุด ถึงตอนนี้หุ้นขนาดใหญ่และขนาดกลางบางตัวยังไม่ปรับตัวขึ้นเลยน่าจะยังเป็นโอกาสที่จะลงทุนได้"
ณัฐวัฒน์ เตือนว่า หากวิเคราะห์ทางเทคนิค SET Index ระดับ 1,300-1,400 จุด จะเป็นจุดที่ไม่สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ คงจะมีแรงผันผวนที่สวิงพอสมควร

Monday, October 15, 2012

แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


สรุปอบรม 6/10/55 แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรสมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า

ผลตอบแทนทบต้นทำได้ 15% ต่อปีก็ถือว่าเยี่ยมแล้ว อย่าไปตั้งเป้ารวยเร็ว ตั้งเป้าเกินตัว บัฟเฟตต์ได้ปีละ 20 กว่า% แต่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก บางคนตั้งเป้ารวยเร็วเช่น ปีละ 100% แบบนี้อันตราย

การซื้อขายหุ้น 2 แบบ 
1.Value Investor ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ รวยตามธุรกิจที่เติบโต พบคนล้มเหลวน้อยกว่า 
2. Stock Trader ใช้ข้อมูลพื้นฐานมาเก็งกำไร พบคนล้มเหลวที่ลงทุนด้วยวิธีนี้มากกว่า

ดร.นิเวศน์ ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ เช่น มาม่า คนกินเป็น 10 ปี เปลี่ยนแปลงยาก สามารถปรับราคาได้

เสริมสุข ตอนนั้น market cap 2000 ล้าน เงินสด 500 ล้าน ยอดขาย 15000 ล้าน กำไร 500 ล้าน คิดว่า 3 ปีก็คืนทุน ราคาถูกมากๆ

Intrinsic Value มูลค่าที่จริง ดร.นิเวศน์ให้นิยามว่า “มูลค่าที่เราห้ามขาย”

ปัจจุบัน สไตล์เล่นหุ้นของคนส่วนใหญ่ จะเน้นการ ขุดหุ้น คล้ายๆ ไปหาหอยที่ดอนหอยหลอด คือ พอกำไรก็ขาย ไปขุดหุ้นตัวใหม่ จนปัจจุบันหาหุ้นที่จะขุดยากขึ้น เหมือนดอนหอยหลอด ก็ไม่ค่อยจะมีหอยแล้ว

เกรแฮม เลือกหุ้นคุณภาพไม่ต้องดีมาก ขอให้ราคาถูกมากๆ บัฟเฟตต์เลือกหุ้นคุณภาพดีมาก ยอมจ่ายในราคายุติธรรม

ลักษณะของกิจการที่มีคุณภาพ 
1.กำไรสม่ำเสมอ เพิ่มขึ้นช้าๆ มานาน (เพิ่มเร็วต้องระวัง) 
2.หนี้น้อย 
3.Net profit margin สูง ROE สูง 
4. ผู้บริหารโปร่งใส ไม่โกง ไม่เอาเปรียบ 
5.ผู้บริหารไม่ขยายงานมั่วไปหมด 
6.มองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นหลัก 

ยุคปัจจุบัน brand ลดความสำคัญลงมาก สิ่งที่สำคัญมากขึ้นคือ เรื่อง ความสะดวกสบาย ยกเว้น brand แฟชั่น เช่น หลุยส์ วิตอง ยังคงมีสำคัญ

คุณภาพของธุรกิจแต่ละประเภท
1. ธุรกิจที่มี brand แข็งแกร่ง ขึ้นราคาได้ ไม่มีสินค้าทดแทน เป็นผู้นำตลาด
2. ธุรกิจสัมปทาน ที่ดีควรจะจ่ายสัมปทานน้อย มีคู่แข่งน้อย ไม่ถูกควบคุมราคา มีกำไรดี
3. สถาบันการเงิน แบงค์ดี เงินทุนไม่ดี หลักทรัพย์ไม่ดี
4. สื่อสาร มือถือดี โทรศัพท์พื้นฐานไม่ดี ทีวีดี
5. สาธารณูปโภค ไฟฟ้าดี น้ำดี ทางด่วนไม่ดี (ลงทุนเยอะ ปริมาณรถเริ่มอิ่มตัว)
6. ธุรกิจมีจุดเด่น มีเทคโนโลยีเหนือคู่แข่ง มีความสามารถในการผลิตสูง
7. ธุรกิจโภคภัณฑ์ เป็นบริษัทส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ผลการดำเนินงานไม่สม่ำเสมอ ไม่เด่น ลูกค้าไม่ยิดติดยี่ห้อ ไม่มีความแตกต่าง ราคาเป็นไปตามตลาดโลก

ข้อสังเกต คนที่รวยมากๆ ส่วนใหญ่จะเป็น เจ้าของธุรกิจที่ดีมากๆ และคงอยู่มานาน

ดร.นิเวศน์ เวลาประเมินมูลค่ากิจการ ท่านจะดู maket cap เป็นหลัก ว่าสมศักดิ์ศรีหรือไม่

การใช้ PE ใช้กับกิจการที่ทำกำไรเติบโตต่อเนื่อง ไม่เหมาะกับหุ้นวัฎจักรที่บางครั้งกำไรลดลง

ธุรกิจที่เติบโตด้วยการลงทุนหนักๆ ไม่ดี ธุรกิจที่ดีควรขยายโดยการลงทุนน้อยๆ

การลงทุนระยะยาว 
1. ต้องอาศัย การรู้กว้าง + รู้จริง มองในภาพใหญ่ คิดแบบเจ้าของธุรกิจ ขยายได้อีกมากแค่ไหน เช่น ธุรกิจขนาดช้าง แต่ตอนนี้น้ำหนักแค่ 40 kg ก็น่าลงทุน แต่ถ้าธุรกิจเป็นแมว แต่ตอนนี้น้ำหนัก 40 kg ไม่น่าลงทุน 
2. มี sense มองแนวโน้มธุรกิจ เช่นประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้พลังงานมาก ประเทศพัฒนาแล้วเน้นความสะดวกสบาย บันเทิง ธุรกิจโรงงาน พวก OEM ลำบาก เพราะแข่งขันทั่วโลก

บางครั้งการซื้อหุ้น โดยฟังจากคนรอบข้างก็มีประโยชน์ เช่น ดร.นิเวศน์เคยฟังลูกสาวแนะนำว่า google ดี Apple ดี Sumsung ดี (แต่ท่านยังไม่ได้ซื้อ) เพราะคนเหล่านั้นอยู่ในสังคมที่ได้สัมผัสจริงๆ ใช้งานจริงๆ และไม่มีส่วนได้เสียในตลาดหุ้น

คำถามที่ต้องระวัง 
1.ขายหุ้นเมื่อไหร่ คำตอบคือขายเมื่อ Over Value แล้วอะไรคือ Over Value ถ้าลงทุนตลอดชีวิต เลือกกิจการดีเยี่ยม เติบโตต่อเนื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องขาย
2.การใช้PEG ต้องระวัง ถ้า PE ข้อมูลผิด G ข้อมูลผิด คำนวณสุดท้ายมันก็ผิดหมด (แต่อาจจะ work ก็ได้เพราะทุกคนก็ใช้เหมือนกัน)
3.PE อาจจะไม่มีความหมายมากนัก ให้ดูที่ คุณภาพกิจการ + growth ในระยะยาว 
4. ตัวเลขต่างๆไม่ต้องดูมาก เน้นที่การแข่งขันใครจะชนะ ใครแข็งแกร่งกว่ากัน

การลงทุน perception สำคัญที่สุด ดร.นิเวศน์ดู maket cap มากที่สุดในการประเมินมูลค่าหุ้น 

ความเข้าใจผิดของคนที่ไม่ได้ลงทุนแบบวีไอ
1.นักลงทนขาใหญ่ มืออาชีพ นักลงทุนสถาบัน ย่อมเก่งกว่านักลงทุนสมัครเล่น >> ไม่จริง เพราะขึ้นกับผลประกอบการบริษัท
2. การลงทุนต้องมีเวลาตามหุ้นมากๆ มีความรู้ในการวิเคราะห์สูง มีเงินมากพอ
3. การลงทุนในหุ้น เป็นเรื่องของการเก็งกำไร คนชอบเสี่ยง ได้เสียเร็ว ถ้าไม่อยากหมดตัวอย่าซื้อหุ้น
4. เล่นหุ้นระยะยาว มีความเสี่ยงสูง การเล่นหุ้นต้องไว เข้าเร็วออกเร็ว

คำถามหลังอบรม
1.ราคาที่เหมาะสม ตาม ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ Efficient market ดร.นิเวศน์ บอกว่า อย่าไปประเมินราคาตลาดต่ำไป แล้วเชื่อมั่นราคาที่เราประเมินมูลค่าหุ้นด้วยตัวเราเองมากเกินไป เพราะราคาตลาดที่ปรากฏเป็นราคาที่ทุกคนในตลาดให้ราคา ณ ขณะนั้น 
2. ดร.นิเวศน์ เปลี่ยนจาก CPN มาเข้า BigC เพราะช่วงนั้น bigC จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซื้อคาร์ฟู โดยที่ไม่เพิ่มทุน หาเงินกู้ได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายผู้บริหาร(คาร์ฟูเดิม) ลดค่าโฆษณา ซึ่งน่าสนใจมาก 
3.เปรียบเทียบตอนดัชนี 1700 และ 1300 ในตอนนี้ สิ่งที่เหมือนกันคือ หุ้น IPO เยอะและวิ่งแรง 2. มีการเทคโอเวอร์มาก สัญญาณส่งออกชะลอตัว แต่สิ่งที่แตกต่างคือ หนี้บริษัทจดทะเบียนตอนนี้น้อยกว่าตอนนั้นมาก และนักลงทุนมีหลายกลุ่มเพิ่มขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้น (ดร.สรุปในบทความล่าสุด เดจาวู) ช่วงนี้ตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะ ดร.ท่านยังไม่ได้ทำอะไรกับพอร์ต แต่หาโอกาสลงทุนต่างประเทศในกิจการคุณภาพดีๆ ยังไม่แพง
4. เปรียบเทียบเมื่อก่อนกับตอนนี้ ดร.นิเวศน์ต้องใช้เวลาวิเคราะห์หุ้นเพิ่มขึ้น น้อยลงหรือไม่อย่างไร ... ท่านบอกว่า ท่านก็ทำเหมือนเมื่อก่อน ปกติไม่วิเคราะห์มาก แต่เน้นสังเกตในการใช้ชีวิตประจำวัน สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง แล้วคิดเปรียบเทียบเป็นมุมมองของการแข่งขัน ใครจะชนะ/แพ้

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กลยุทธ์ยามหุ้นแพง


กลยุทธ์ยามหุ้นแพง.....เริ่ด ^^
ฝากบทความไว่ให้ช่วงบ่ายครับผม

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
กลยุทธ์ยามหุ้นแพง

ในยามที่หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาไม่ถูกแล้ว แต่ราคาหุ้นโดยทั่วไปก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็น “ฟองสบู่” นั่นก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ที่สูงและมีค่า PE สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตประมาณ 30-40% อย่างที่เห็นในช่วงนี้ เราในฐานะของ Value Investor ควรจะทำอย่างไร? คำตอบของ VI แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป ลองมาดูกัน
มุมมอ
งหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นแนว “VI พันธุ์แท้” หรือบางทีก็อาจจะเป็น “VI ใสซื่อ” ก็คือ “เราไม่สนใจตลาด ถ้าเราพบว่ามีหุ้นที่ยังมีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก มี Margin Of Safety หรือส่วนต่างของความปลอดภัยสูง เราก็จะซื้อ” บางคนอาจจะพูดต่อว่า เขายังพบหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้น VI อีกไม่น้อยแม้ในยามที่หุ้นในตลาดโดยทั่วไปมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้น ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาก็ไม่สนใจ เขาสนใจเฉพาะหุ้นเป็นรายตัว
คอมเม้นท์ของผมก็คือ แน่นอน ในยามที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาและค่า PE สูง เราก็จะยังมีหุ้นที่ “ถูก” หรือมีค่า PE ต่ำ นอกจากนั้นค่า PB ก็อาจจะต่ำด้วย รวมถึงอัตราผลตอบแทนปันผลก็อาจจะสูง ถ้าดูโดยตัวเลขก็ต้องบอกว่ามันคือหุ้นที่มีราคาถูก แต่ถ้าวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง หุ้นตัวนั้นอาจจะไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนก็ได้ เพราะมันอาจจะมีปัญหาหรือกำไรในอนาคตอาจจะถดถอยลงเนื่องจากปัจจัยทางด้านคุณภาพ เช่น มันอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังตกต่ำลง หรือมันอาจจะเป็นหุ้นวัฏจักรที่กำลังเข้าสู่วัฎจักรขาลง ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งทำให้หุ้นมีราคาถูกอย่างที่เห็น แต่ไม่ใช่หุ้น Value ดังนั้น การที่เราบอกว่า เราสนใจเฉพาะตัวหุ้น ไม่สนใจภาวะตลาดนั้น จริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยหลักการ แต่ในยามที่ตลาดหุ้นบูม เราจะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษว่า หุ้นที่เราเห็นว่ามีราคาถูกโดยดูจากตัวเลขเช่น ค่า PE นั้น อาจจะเป็น “กับดัก” ที่ทำให้เรา “ติด” ได้ เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องคิดว่า ถ้ามันหาง่ายอย่างนั้น คนก็คงจะเจอแล้วก็ซื้อมันและทำให้ราคามันขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว คงไม่ปล่อยให้มันมี PE ต่ำมากอยู่อย่างนั้นโดยเฉพาะในยามที่มี “VI” อยู่เต็มตลาดหุ้น
มุมมองอีกแนวหนึ่งก็คือ ในยามที่หุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นมาก เราควรจะ Switch หรือเปลี่ยนตัวหุ้น จากหุ้นที่เราได้กำไรมากหรือหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้นไปมากและราคาหุ้นเริ่มแพงแล้ว แล้วเอาเงินไปซื้อหุ้นที่ยังเป็น “Laggard” หรือหุ้นที่ยังไม่ค่อยได้ขึ้นไปเท่าไรและราคาอาจจะยังถูกเมื่อเทียบกับหุ้นอื่น ๆ ในตลาด แนวความคิดนี้อาจจะดูเหมือนว่าไม่ใช่แนว VI เพราะอาจจะไม่ได้วิเคราะห์ว่าหุ้นนั้นมี Margin Of Safety มากน้อยแค่ไหน แต่ไปดูจากการเปรียบเทียบว่าหุ้นตัวไหนราคาถูกกว่าอีกตัวหนึ่งแทนที่จะดูว่าตัวมันเองคุ้มค่าหรือไม่กับพื้นฐานของมัน อย่างไรก็ตาม VI ที่มองในแนวนี้ก็อาจจะบอกว่า หุ้นตัวใหม่ที่เขาจะซื้อนั้น จะต้องเข้าข่ายว่าเป็นหุ้น “VI” ด้วย นั่นก็คือ เขาอาจจะกำลังบอกว่า เขา Switch จากหุ้น VI ที่แพง ไปสู่หุ้น VI ที่ถูกกว่า มี Margin Of Safety สูงกว่า
คำวิจารณ์ของผมก็คือ คนที่คิดแบบนั้นอาจจะมีความคิดว่า ราคาหุ้นที่เป็น VI แต่ละตัวนั้น เมื่อเวลาผ่านไปจะต้องวิ่งไปหา “มูลค่าที่แท้จริง” เช่น ราคาหุ้นปัจจุบันเท่ากับ 7 บาท มูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณได้อาจจะเป็น 10 บาท ดังนั้น หุ้นก็น่าจะวิ่งขึ้นไปอีก 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ในอนาคต ทีนี้ถ้ามีหุ้น 2 ตัวที่ต่างก็เป็นหุ้น VI ในสายตาของเขา แต่หุ้นตัวที่หนึ่งที่เขาซื้อไว้แล้วมีราคาวิ่งขึ้นไปเป็น 10 บาทอย่างรวดเร็ว เขาก็อาจจะคิดว่ามัน “เต็มมูลค่า” แล้ว ในขณะที่หุ้น VI ตัวที่สองนั้น ราคายังไม่ได้ไปไหน ซึ่งทำให้มันน่าจะมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปได้ในอนาคต ดังนั้น เขาจึงขายหุ้นตัวแรกและหันไปซื้อหุ้นตัวที่สอง โดยที่เขาสรุปว่าหุ้นตัวแรกนั้นไม่ได้เป็นหุ้น VI แล้วหรือเป็นหุ้น VI ที่จะมี Upside หรือโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นอีกน้อยลง ในขณะที่หุ้นตัวที่สองยังเป็นหุ้น VI ที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นมากกว่า
ผมเองคิดว่าการ Switch หุ้นในยามที่ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นและหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นตามดัชนีตลาดนั้น อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนัก เหตุผลก็คือ ในยามที่ตลาดหุ้นคึกคัก หุ้นที่จะ “ถูกละเลย” นั้นน่าจะมีน้อย การที่หุ้นตัวหนึ่งวิ่งได้ดีหรือมากกว่าหุ้นอีกตัวหนึ่งนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าหุ้นตัวแรกมีพื้นฐานหรือคุณสมบัติดีกว่าหุ้นตัวที่สอง การวิเคราะห์เดิมของเราอาจจะผิดพลาด ที่สำคัญ มูลค่าของหุ้นตัวแรกอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่หุ้นตัวที่สองนั้นมูลค่าของกิจการไม่ได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด การ Switch นั้นอาจจะมีโอกาส “ชนะ” ไม่มากและอาจจะไม่คุ้มกับค่าคอมมิชชั่นและส่วนต่างราคาซื้อขายที่เราจะต้องเสีย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ มันอาจจะทำให้เราต้องเสียหุ้นที่ดีและได้หุ้นที่เลวกว่ามาแทนในทำนอง “ขายหมูแล้วไปซื้อควายมา” อย่างที่พูดกันในหมู่ VI
มุมมองสุดท้ายที่หลายคนอาจจะทำก็คือ การขายหุ้นเพื่อถือเงินสดและหวังว่าจะกลับมาซื้อหุ้นคืนเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลง นี่เป็นกลยุทธ์ที่คล้ายกับนักเก็งกำไรที่จะ “เล่นหุ้นเป็นรอบ” นั่นก็คือ ซื้อหุ้นเมื่อดัชนีปรับตัวลงและขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูง ปีหนึ่งอาจจะเล่นหุ้นไม่กี่ครั้ง แต่สำหรับ VI นั้น เขาอาจจะคิดว่ารอบของเขาอาจจะใหญ่หรือยาวกว่า นั่นก็คือ ถ้าหุ้นขึ้นมาสูงจนหุ้นส่วนใหญ่แพงเกินไปและอาจจะเลยพื้นฐานไปแล้ว การหาหุ้นถูกยากมาก ดังนั้น เขาก็ควรจะขายหุ้นทิ้งแล้วถือเงินสด เขาเชื่อว่าในที่สุด ราคาหุ้นก็น่าจะปรับตัวลงมาซึ่งจะทำให้เขาสามารถซื้อหุ้นตัวเดิมหรือหุ้นตัวใหม่ในราคาที่ต่ำลง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของเขาดีขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เขาคิดว่าการถือเงินสดนั้นปลอดภัยกว่าหุ้นที่อาจจะมีการปรับตัวลงครั้งใหญ่ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งที่เขาทำได้มากและรวดเร็วต้องหายไป
ความเห็นของผมก็คือ การถือเงินสดนั้น แม้ว่าจะปลอดภัยในแง่ที่เม็ดเงินจะไม่ลดลงแต่มันก็แทบไม่ให้ผลตอบแทนเลย ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือถ้าเกิดวิกฤติหรือตลาดหุ้นตกลงมารุนแรงและทำให้หุ้น VI ที่เราสนใจมีราคาลดลงมาก เราก็จะได้ซื้อหุ้นถูกและทำให้ผลตอบแทนในอนาคตสูงขึ้น แต่เหตุการณ์นั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนเราก็ไม่รู้ หลายคนอาจจะบอกว่าเหตุการณ์ในยุโรปนั้นน่ากลัวมากน่าจะมีโอกาสสูงที่ยุโรปจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรงและนั่นน่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทยตกลงมารุนแรงได้ ประเด็นนี้ผมเองไม่อยากที่จะให้ความเห็น แต่ประสบการณ์ก็คือ วิกฤติมักจะเกิดขึ้นตอนที่ไม่มีใครคาดคิด เหตุการณ์ในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้และรับทราบมาโดยตลอด ดังนั้น ตลาดหุ้นก็ “รับข่าว” และปรับตัวลงมามากแล้ว การที่ตลาดหุ้นจะเกิดวิกฤติและมีการปรับตัวลงมาก ๆ ก็น่าจะน้อยลง ดังนั้น การตัดสินใจโดยอิงอยู่กับสิ่งที่ยังไม่แน่นอนจึงเป็นเรื่องของการเก็งกำไรที่มีโอกาสได้เสียเท่า ๆ กัน
สุดท้ายสำหรับตัวผมเองว่าจะทำอย่างไรในสถานการณ์หุ้นแพง คำตอบก็คือ ผมแทบจะไม่ทำอะไร โดยเฉพาะในยามที่หุ้นยังไม่ได้เป็น “ฟองสบู่” ประเด็นต่อมาก็คือ ผมทำอะไรกับเงินสดที่อาจจะได้มาจากปันผลหรือจากแหล่งอื่น คำตอบก็คือ ผมก็อาจจะถือเป็นเงินสดไว้ หรือไม่ก็ลงทุนในหุ้นที่มั่นคงมากในแง่ผลประกอบการที่ยังให้ผลตอบแทนปันผลพอสมควร อาจจะ 4-5% เทียบกับเงินฝากที่ 1-2% ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ผมมักจะเรียกว่า “หุ้นพันธบัตร” ซึ่งหลายตัวเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคที่มีรายได้และกำไรค่อนข้างแน่นอนและมีการเติบโตบ้างแต่ราคาไม่แพงเท่าไรนัก